รายงานการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนา การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลตำบล โนนแดง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Samples) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ จำนวน10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่า t-test (Dependent Sampling)
ผลการศึกษา พบว่า ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 87.15/88.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด ( = 4.80, S.D.= 0.39)
ความสำคัญและความเป็นมา
ในการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการไปสู่การสร้างองค์ความรู้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนทุกขั้นตอน ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล โดยอาศัยแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสากลและท้องถิ่น โดยผู้สอนมีบทบาทในการวางแผนการเรียนรู้ กระตุ้น แนะนำ ช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อให้การศึกษาวิทยาศาสตร์บรรลุผลตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ที่กล่าวไว้ จึงได้กำหนดคุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไว้ดังนี้ คือ เข้าใจลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เข้าใจลักษณะที่ปรากฏและการเปลี่ยนแปลง ของวัสดุรอบตัว แรงในธรรมชาติ รูปของพลังงาน เข้าใจสมบัติทางกายภาพของดิน หิน น้ำ อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงดาว ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต วัสดุและสิ่งของ และปรากฏการณ์ ต่าง ๆ รอบตัว สังเกต สำรวจตรวจสอบโดยใช้เครื่องมืออย่างง่าย และสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ด้วยการเล่าเรื่อง เขียนหรือวาดภาพ ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการดำรงชีวิต การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กำหนดให้ หรือตามความสนใจ แสดงความกระตือรือร้น สนใจที่จะเรียนรู้ และแสดงความซาบซึ้งต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว แสดงถึงความมีเมตตา ความระมัดระวังต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความมุ่งมั่น รอบคอบ ประหยัด ซื่อสัตย์ จนเป็นผลสำเร็จ และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 5) ถึงแม้ว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะกำหนดคุณภาพของผู้เรียนในด้านวิทยาศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน แต่จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พบว่า การจัดการเรียนการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศมีปัญหามาก จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเทียบกับนานาชาติ นักเรียนของไทยได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างตํ่า ทำข้อสอบประเภทการนำ ความรู้มาใช้ และกระบวนการคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ เขียนอธิบายไม่เป็น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 36)
จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ ประเทศไทยยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดง ก็กำลังประสบกับปัญหาด้านการขาดทักษะกระบวนการในการแก้ปัญหาของนักเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย ที่โรงเรียนกำหนด จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.53 และจากผลการประเมิน ในระดับชั้นเรียนในหน่วยชีวิตพืชและสัตว์ พบว่า นักเรียนยังขาดทักษะการในการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหา ทำให้มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.41 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้คือ ร้อยละ 75.00 (โรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดง. 2558 : 9)
ชุดกิจกรรม เป็นสื่อประสมที่ครูสร้างขึ้นโดยรวบรวมเนื้อหา กระบวนการ กิจกรรมประสบการณ์ แนวคิด วิธีการ กิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องกันตามหัวข้อเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดเอาไว้เป็นชุด ๆ (บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543 : 91) นอกจากนี้ชุดกิจกรรมยังเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างเป็นระบบให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และผู้เรียนยังสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ระหว่างการประกอบกิจกรรม ตลอดจนใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. 2550 : 99)
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดง กองการศึกษาเทศบาลตำบลโนนแดง จึงมีแนวคิดที่จะสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นมา โดยผู้ศึกษามีความมุ่งหวังว่า จะเป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติกิจกรรม การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้อง
โรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดง กองการศึกษา เทศบาลตำบลโนนแดง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
2. สิ่งที่ศึกษา
นวัตกรรมที่พัฒนา คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 6 เล่ม
ผลที่เกิดจากนวัตกรรม
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
3. เนื้อหาที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียน
เทศบาลตำบลโนนแดง พุทธศักราช 2559 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตพืชและสัตว์
4. ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ระยะเวลาในการปฏิบัติการสอนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่
4 กรกฎาคม 2559 รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง รวมชั่วโมงเวลาที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 6 เล่ม การหาประสิทธิภาพแบบรายบุคคล พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 73.89/768.33 ในขั้นตอนการหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็ก พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 75.37/71.11 ในขั้นตอนการหาประสิทธิภาพแบบภาคสนาม พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 86.00/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และในขั้นทดลองจริง พบว่า ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 6 เล่ม มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 88.06/87.15 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ซึ่งสรุปได้ว่าชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัด การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.80, S.D.= 0.39)
อภิปรายผล
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่า เท่ากับ 88.06/87.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด ( = 4.80, S.D.= 0.39)
อภิปรายผลการศึกษา
จากผลการศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้สามารถอภิปรายผลได้ตามลำดับหัวข้อดังนี้
1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.06/87.15 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ได้รับการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ ความเหมาะสม ได้ผ่านการทดลองหาประสิทธิภาพจากรายบุคคล กลุ่มเล็กและภาคสนาม ผ่านกระบวนการขั้นตอนการสร้างอย่างมีระบบและมีวิธีการที่เหมาะสมตามหลักการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กล่าวคือ ได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลตำบลโนนแดง เอกสารการวัดประเมินผล วิธีการสร้างแบบฝึก ตำรา ขอบข่าย เกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ รวมทั้งคู่มือครู หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กำหนดผลการเรียนรู้ โดยให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ในหลักสูตรและเนื้อหาของกิจกรรม ใช้ภาษา ที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ซึ่งทำให้ ชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นมีข้อดี คือ ส่งเสริมการเรียนเป็นรายบุคคล โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสนใจ ความสามารถ ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสฝึกการตัดสินใจและ การทำงานร่วมกับกลุ่ม ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้เป็นแนวทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้คอยให้ความช่วยเหลือ เสนอแนะ ควบคุมดูแล อย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในการทำกิจกรรม และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสนำเสนองาน เพื่อฝึกให้ผู้เรียน กล้าแสดงออก สำหรับการปฏิบัติงานกลุ่มผู้ศึกษาได้กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการในการแก้ปัญหา การอธิบายเหตุผลต่าง ๆ และเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ระเบียบ แก้วดี (2554 : 66) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ของเล่นของใช้ในท้องถิ่นแสนรักของฉัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ของเล่นของใช้ในท้องถิ่นแสนรักของฉัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.01/83.70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 สอดคล้องกับผลการศึกษาของ น้ำฝน เกลื่อนเพชร (2554 : 74) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญาท้องถิ่น มีประสิทธิภาพ 76.11/75.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 สอดคล้องกับผลการศึกษาของ สุวพร พาวินิจ (2555 : 136) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.60/79.81 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ พนมพร ค่ำคูณ (2556 : 98) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในรูปแบบการสอนแบบ วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในรูปแบบการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 ชุด ทั้ง 4 ชุดมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 81.90/86.20 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นเพราะว่าผลมาจากชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผ่านการสร้างตามขั้นตอน และมีประสิทธิภาพสูงตามเกณฑ์ การสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ พยายามปรับกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับวัย และเป็นเรื่องที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ จากความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลด้วยกระบวนการที่หลากหลายในเรื่องที่อยู่ในความสนใจ เหมาะสมกับวัย ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และผู้เรียนยังสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ระหว่างการประกอบกิจกรรม โดยมีครูคอยให้ความช่วยเหลือ เสนอแนะ ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในการทำกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Vivas. (เพ็ชรัตน์ พรหมมา. 2555 : 47 อ้างอิงมาจาก Vivas. 1985 : 603) ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบพัฒนาและประเมินค่าการรับรู้ทางความคิดของนักเรียนเกรด 1 ในประเทศเวเนซูเอล่า โดยใช้ชุดการสอน จากการศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจในการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านความพร้อมในการเรียน ด้านความคคิดสร้างสรรค์ ด้านเชาว์ปัญญา และด้านการปรับตัวทางสังคม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเกรด 1 จากโรงเรียนนีสกัวร์เนียร์ เขตรัฐมิลัน ดำ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยชุดการเรียนมีความสามารถในด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านเชาว์ปัญญษ และด้านการปรับตัวทางสังคมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนปกติ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Ebrahim. (จตุพร ฤทธิวรรณ. 2555 : 48-49 อ้างอิงมาจาก Ebrahim. 2004 : 1232-A) ได้ศึกษาการสอนแบบปกติกับการสอนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ที่มีการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 111 คน จาก 4 ห้องเรียนแบ่งกลุ่มทดลอง 56 คน เรียนแบบวัฏจักรเรียนรู้ 4 ขั้น และกลุ่มควบคุม 55 คน เรียนแบบปกติ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ การสอนใช้ครูเพศหญิงสอน นักเรียนชายทั้ง 2 กลุ่ม และครูเพศหญิงอีก 1 คน สอนนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม การเก็บข้อมูลใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ การทดลองใช้การทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน ผลจากการศึกษาพบว่า นักเรียน ที่เรียนโดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ที่มีชุดฝึกกิจกรรมการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ กุลฤดี รัศมีสวัสดิ์ (2557 : 108 ) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับการสอน แบบปกติ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับผลการศึกษาของจตุพร ฤทธิวรรณ (2555 : 80) ได้ศึกษาผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เรียนรู้ ด้วยชุดฝึกกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับผลการศึกษาของเพ็ชรัตน์ พรหมมา (2555 : 69 ) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชเพื่อพัฒนาทักษะการคิดในรูปแบบการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังที่ผ่านการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด ( = 4.80, S.D.= 0.39) ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผ่านการสร้างตามขั้นตอน ตามหลักวิชาการ และ การสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้พยายามปรับกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้กับผู้เรียนอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับวัย และเป็นเรื่องที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้จากความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย ในเรื่องที่อยู่ในความสนใจ เหมาะสมกับวัย ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และผู้เรียนยังสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ระหว่างการประกอบกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน โดยผู้ศึกษาได้คอยให้ความช่วยเหลือ เสนอแนะ ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในการทำกิจกรรม ซึ่ง
สอดคล้องกับผลการศึกษาของน้ำฝน เกลื่อนเพชร (2554 : 74) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับมาก สอดคล้องกับผลการศึกษาของระเบียบ แก้วดี (2554 : 67) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ของเล่นของใช้ในท้องถิ่นแสนรักของฉัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ของเล่นของใช้ในท้องถิ่นแสนรักของฉัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก และยังสอดคล้องกับเพ็ชรัตน์ พรหมมา (2555 : 72 ) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กรุงเทมหานคร ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้
1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
ควรนำชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นอื่น ๆ หรือนำไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ให้กว้างขวางเพราะชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ก่อนใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้แต่ละครั้ง ควรอภิปรายให้นักเรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ และวิธีการใช้และคำชี้แจงชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้โดยละเอียด
1.3 ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เป็นบทเรียนที่นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะในการอ่าน มีสมาธิ มีความเต็มใจ และผู้เรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
2.1 ควรนำชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในระดับชั้นอื่นๆ หรือ เนื้อหาวิชาอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านวัย และศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
2.2 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเรียนการสอน โดยวิธีการสอนแบบต่าง ๆ กับการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลฤดี รัศมีสวัสดิ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จตุพร ฤทธิวรรณ. (2555). ผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนปกติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
น้ำฝน เกลื่อนเพชร. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : เอสอาร์ ปริ้นติ้ง.
พนมพร ค่ำคูณ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เพ็ชรัตน์ พรหมมา. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษณ์พลังงานไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ระเบียบ แก้วดี. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ของเล่นของใช้ในท้องถิ่นแสนรักของฉัน ชั้นประถมศึกษาปีท