รายงานผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนกอท.
อาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว
ผู้ศึกษา ชคัตตรัย อำไพรัตน์
ปีที่ศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว จำนวน 10 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 17 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประเภทพืชผักสวนครัว เครื่องมือที่ใช้ในการปลูก พืชผักสวนครัว ดิน ปุ๋ย และการขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า จำนวน 10 ข้อ ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ดัชนีประสิทธิผล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการศึกษา
จากการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏผลดังนี้
1. ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 ที่ตั้งไว้ คือ มีค่าประสิทธิภาพ 88.80/89.67 แสดงว่า เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพจริง
2. ผลการเปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 19.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.69 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 26.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.52 ผลต่างคะแนนเฉลี่ย 7.40 และร้อยละของผลต่าง 24.67 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านหนองบัว ที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เรียนรู้ไปกับ พืชผักสวนครัว ในภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (µ = 4.75, = 0.45)