LASTEST NEWS

26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ 24 ก.ค. 2567เตรียมตัวให้พร้อม คลอดแล้วปฏิทินสอบทีแคสปี 68 พร้อมวันสอบ TGAT/TPAT และ A-Level

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อวิจัย                    รูปแบการพัฒนางานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้วิจัย                    นายจักรกฤษณ์ นนทโคตร รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ที่ปรึกษางานวิจัย                นายโกวิท สุทธิพงษ์วิจิตร ผู้อำนวยการสถานศึกษา    
สายงาน                    ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
ปีการศึกษา                2559

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาและนำเสนอแนวทางการพัฒนา งานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ
    1) ศึกษาปัญหาการพัฒนางานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน ครูจำนวน 35 คน ผู้ปกครอง จำนวน 75 คน รวมจำนวน 112 คน ซึ่งได้โดยการเลือกแบบเจาะจง จำแนกระดับชั้นในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
    2) นำเสนอรูปแบบการพัฒนางานวิชาการ โดยการสังเคราะห์ความคิดเห็นการประเมินแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า
    1) ปัญหาการการพัฒนางานวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดประเมินผล ด้านการนิเทศภายใน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีปัญหาการพัฒนางานมากอันดับ 1 คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร อันดับ 2 คือ ด้านการวัดประเมินผล และอันดับ 3 คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน
    2) รูปแบบการพัฒนางานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียน ด้านการวัดประเมินผล ด้านการนิเทศภายใน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน มีรูปแบบการดำเนินงานคือ สร้างความตระหนัก สร้างเครือข่ายทางวิชาการ สำรวจข้อมูล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ วางแผนการปฏิบัติการ กำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอ สรุปประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^