LASTEST NEWS

23 ก.ค. 2567กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดสอบพนักงานราชการ 10 อัตรา วุฒิม.3-ม.6 ตั้งแต่บัดนี้-25 กรกฎาคม 2567 23 ก.ค. 2567กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุรับราชการ วุฒิปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค.2567 23 ก.ค. 2567โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ เปิดสอบครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย / ประถมศึกษา รับสมัครตั้งแต่บัดนี้-26 กรกฎาคม 2567 23 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 100 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 23 ก.ค. 2567ศธ.เล็งแก้หนี้ครูระยะยาววางแผนให้ยื่นกู้สหกรณ์ข้ามจังหวัดได้ 23 ก.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา ปี 2567 (ภายใน 9 ส.ค.2567) 22 ก.ค. 2567โรงเรียนบ้านระนามพลวง (สมานราษฎร์วิทยาคาร) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป ค่าตอบแทน 6,000 บาท/เดือน (หกพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 23-26 ก.ค.2567 22 ก.ค. 2567ห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนจำคุก 2 ปี หรือปรับ 2 ล้านบาท 22 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมกิจการเด็กและเยาวชน เปิดสอบพนักงานราชการ 77 อัตรา วุฒิม.6-ปริญญาตรี รับสมัคร ตั้งแต่ 25 ก.ค. - 1 ส.ค.2567 22 ก.ค. 2567บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รับสมัครคัดเลือกบุคคลภายนอกเพื่อเข้าปฏิบัติงาน จำนวน 219 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 ก.ค.2567

รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารส

usericon

รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารส
ชื่องานประเมิน         :     รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบ
                    ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1
                    (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
ผู้ประเมิน          :    อุบลรัตน์ เสือน้อยกุลธร
ปีที่ประเมิน     : ปี 2556

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินการโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลอง CIPP ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam : CIPP Model) ในการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การสร้างเกณฑ์การประเมินได้อาศัยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นสอดคล้องกัน การศึกษาได้นำผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่นของโรงเรียนทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 57 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่แบบประเมินโครงการ ซึ่งมีความเที่ยงตรงตามกรอบการประเมินทุกฉบับ สำหรับการวิเคราะห์ได้ดำเนินการโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการประเมินสรุปได้คือ
    ด้านบริบท (Context) พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ของการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีความชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ สอดคล้องกับสภาพการจัดการศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานทุกระดับ ด้านมีความพร้อมในการดำเนินงาน คือ โครงการนี้ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นจริงและสามารถใช้ข้อมูลจากโครงการในการพัฒนาจัดสรรงบประมาณประจำปี มีกำหนดงานการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ได้ถูกต้องกับโครงสร้างการบริหารงานของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด    
    ด้านปัจจัย (Input) พบว่ามีการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเป็นระบบ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับกิจกรรม มีแผนการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาสู่ระบบ Internet อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ผู้บริหารสถานศึกษา ให้การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่รับผิดชอบระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี มีหลักฐานการวิเคราะห์ภารกิจด้านต่าง ๆ กำหนดรายการข้อมูลสารสนเทศที่หน่วยงานต้องใช้ ต้องมี ในหนึ่งปี และมีแผนควบคุม กำกับ ติดตามงานอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง มีการวางแผนใช้จ่ายงบประมาณเป็นขั้นตอน สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีสถานที่เป็นxxxส่วน มีความเหมาะสมเอื้อต่อการดำเนินงาน มีวัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน การบริหารและการจัดการ มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคลากรในหน่วยงานให้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของข้อมูลสารสนเทศ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานก่อนปฏิบัติงาน และและมีการประเมินการดำเนินงาน ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง มีการสรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานโครงการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
    ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล มีการกำหนดวิธีการ ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างชัดเจน มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานก่อนการดำเนินการ มีการกำหนดระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีการติดตาม กำกับดูแลการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และในด้านคุณภาพของแบบเก็บข้อมูลพบว่า มีระบบการจัดเก็บคลังข้อมูลที่เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะงาน การค้นหาข้อมูลสารสนเทศสะดวกรวดเร็ว มีการจัดทำแผนภูมิแสดงสารสนเทศที่สำคัญ ๆ มีการสรุปข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญประกอบคำบรรยาย แบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นทำความเข้าใจง่าย สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมความต้องการและสะดวกต่อการนำไปใช้ มีการสำรวจความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศภายในสถานศึกษา มีการออกแบบเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามความต้องการ ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลเหมาะสมสอดคล้องกัน และการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถดำเนินการได้ดีตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ วิธีการตรวจสอบข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และตรวจสอบซ้ำ มีการตรวจสอบแก้ไขข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และตรวจสอบซ้ำ มีการตรวจสอบแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำไปประมวลผลและแจ้งผลการตรวจข้อมูลที่ผิดพลาดให้รับทราบ ขั้นตอนการจัดหน่วยหรือคลังข้อมูล มีศูนย์ข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูล และมีการจัดทำเอกสารสรุปข้อมูลสารสนเทศรายปีการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นตอนการวิเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง มีแนวทางขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันเวลาที่ต้องการใช้ ขั้นตอนการนำไปใช้ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติขั้นตอนวิธีการขอใช้ข้อมูลสารสนเทศ มีการให้บริการข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมเอกสารขอใช้ข้อมูลสารสนเทศไว้เป็นหลักฐาน สามารถขอใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ทุกเวลา มีการให้บริการข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างผู้ขอใช้กับผู้ให้บริการทุกครั้ง และมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้บริการโดยเฉพาะ
    ด้านผลผลิต (Product) พบว่าผลผลิตตามวัตถุประสงค์การพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารสนเทศ ทางการศึกษาท้องถิ่น ของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ด้านปริมาณ จำนวนข้อมูลสารสนเทศ มีเพียงพอตามความต้องการของหน่วยงาน ครบตามขอบข่ายที่กำหนด ด้านคุณภาพข้อมูลสารสนเทศที่ได้ มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ แม่นยำสอดรับกับการปฏิบัติงานจริง นำไปใช้ได้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นได้ในเวลาเดียวกัน และมีความชัดเจนไม่คลุมเครือกะทัดรัด เป็นปัจจุบันทันสมัย ข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และนำไปใช้ประกอบการจัดตั้งจัดสรรงบประมาณ และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี มีผลเฉลี่ยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.00 และรองลงมาคือข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านนโยบายการบริหารงานของผู้บริหาร มีจำนวนข้อมูลสารสนเทศที่ได้ครบตามขอบข่ายที่กำหนด มีผลเฉลี่ยอยู่ 4.70 และน้อยที่สุด ในเรื่องข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจุบันทันสมัย, ข้อมูลสารสนเทศทีได้สอดรับกับการปฏิบัติงานจริง, ข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำไปใช้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ มีผลการประเมิน เฉลี่ยอยู่ที่ 3.30 ผลผลิตด้านการบริหาร การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ทำให้ตัดสินใจกำหนดนโยบายวางแผนการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความถูกต้องแม่นยำชัดเจนและรวดเร็ว ตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง บุคลากร ในสถานศึกษาเกิดการพัฒนา ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ มีระบบ คล่องตัวรวดเร็วตรงตามนโยบายทุกหน่วยงานทุกระดับ
24 ส.ค. 2557 เวลา 14:11 น. 0 1,053
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^