รายงานผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นางสาววัชริญา จันทะลุน
โรงเรียนกระแชงวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
2559
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนกระแชงวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 29 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, E1/E2, t-test Dependent Samples
ผลการวิจัยปรากฏว่า
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สรุปผลได้ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.80/
82.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.51)