การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา
ของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
รายวิชา ว30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง มวล แรง กฎการเคลื่อนที่
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางวรัญญา ทองหาญ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง มวล แรง กฎการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง มวล แรง กฎการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง มวล แรง กฎการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง มวล แรง กฎการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 48 คน คือ ห้อง ม.4/5 และ ห้อง ม.4/6 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 มวล แรง กฎการเคลื่อนที่ จำนวน 7 แผน 2) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา จำนวน 7 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษา พบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว 30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.80/87.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว 30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7622 ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7622 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.22
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว 30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชา ว 30101 ฟิสิกส์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.44,S.D.=0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X ̅=4.47,S.D.=0.55) รองลงมาคือด้านสื่อการเรียนการสอน (X ̅=4.46,S.D.=0.61) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านเนื้อหา (X ̅=4.40,S.D.=0.67)