รายงาน การพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางวีรินทร์ ชูทรัพย์ทวีกุล
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ
พื้นที่ศึกษา โรงเรียนโนนจานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
มหาสารคาม เขต 2
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการเขียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโนนจานวิทยา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 44 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโนนจานวิทยา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 12 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และสถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ การหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ E1/E2 และการทดสอบค่า t (t - test)
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.04 / 88.33
2. แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียน เท่ากับ 0.67
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .55 ค่าความเชื่อมั่น ( ) ของวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.76
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการเขียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .51 ค่าความเชื่อมั่น ( ) ของแบบวัดความพึงพอใจ เท่ากับ .75
โดยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค(STAD)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีความรู้ในทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ดีขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน จึงควรสนับสนุนให้ครูนำแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการสอนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนต่อไป