รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม
โรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
ผู้จัดทำ นางสาววาสนา มณฑาลพ
ปีการศึกษา2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง
อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้
ระบบจำนวนเต็ม เท่ากับ 82.97/83.19 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ ระบบจำนวนเต็ม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.21