รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอน
แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา วิจิตรา ทุ่งหว้า
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1)เพื่อสร้างการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ
หาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ(4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช โดยศึกษากับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 13 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านมะหงัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืช และแบบทดสอบย่อยในแต่ละชุดกิจกรรม 4) และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.14/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 10.54 และหลังเรียนเท่ากับ 25.00 คิดเป็นร้อยละเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ 35.13 และหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 83.33 โดยมีร้อยละของคะแนนการพัฒนาเท่ากับ 48.21 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 2
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.74 กล่าวคือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิผลร้อยละ 74.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 3
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง พืช อยู่ในระดับมาก ( = 4.42 , = 0.58)