เผยแพร่ผลการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน”
นางปิยวรรณ เอกจันทร์
ปี 2558
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 29 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยวิธีประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ เน้นความตรงเชิงเนื้อหา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าดัชนีประสิทธิผลและค่าสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.45 / 83.65 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2) ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” มีประสิทธิผลทางการเรียนรู้เท่ากับ 0.7311 มีความก้าวหน้าของการเรียนร้อยละ 73.11
3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” อยู่ในระดับน้อยแต่หลังเรียนอยู่ในระดับมาก
5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 “ดินในท้องถิ่นมวกเหล็กบ้านของฉัน” อยู่ในระดับมากที่สุด