LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

usericon

ชื่อผลงาน     แนวทางการพัฒนาโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ
ชื่อผู้ศึกษา     นางวดี แคนสุข ตำแหน่ง ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา 3) เพื่อทดลองใช้แนวทางการพัฒนา และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้แนวทางการพัฒนา เป็นการวิจัย และพัฒนา เลือกศึกษาโรงเรียน และอุทยานการเรียนรู้ Best Practice จำนวน 3 แห่ง และเลือกโรงเรียน หนองโพธิ์วิทยาคม เป็นโรงเรียนศึกษาผลการทดลองใช้แนวทางพัฒนา ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพของแนวทาง เครื่องมือ ได้แก่ แนวการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้พื้นฐาน แนวทางการวิเคราะห์องค์กร และการกำหนดทิศทางองค์กร แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 การทดลองใช้แนวทางพัฒนา เครื่องมือ ได้แก่ โครงการพัฒนา และระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงแนวทางพัฒนา เครื่องมือ ได้แก่ แบบตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ แบบบันทึกผลการประชุมกลุ่มย่อย แบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
    ผลการวิจัย พบว่า ในยุคปัจจุบันเราต้องอาศัยการเรียนรู้เป็นฐานในการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนั้นจึงมี ความจำเป็นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหารสถานศึกษาจากแนวทางการบริหารแบบเดิมๆ ที่ผ่านมา ไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้สมาชิกทุกคนขององค์กร ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ การกำหนดแนวทางการพัฒนา มีแนวทางดังนี้ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ทั้ง 20 โรงเรียน 2) กำหนดทิศทางองค์กร (วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์) 3) กำหนดยุทธศาสตร์หลัก 4) กำหนดมุมมอง 5) จัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ 6) กำหนดตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์ บนแผนที่ยุทธศาสตร์ 7) ระดมกิจกรรม โครงการใหม่ๆ 8) จัดทำแผนปฏิบัติการ 9) กำหนดแนวทางการนำแผนสู่การปฏิบัติ และ 10) กำหนดแนวทางการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้รับการยืนยันความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับผลการนำแนวทางการพัฒนา ไปใช้ พบว่า ตัวชี้วัดของโครงการสามารถบรรลุเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ จำนวน 10 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1-10 ร้อยละของนักเรียนชั้น ม.6 ที่มีทักษะด้าน ICT เพิ่มขึ้น ร้อยละของผู้เรียน ที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดลดลง ร้อยละของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่รักษ์ในอาชีพท้องถิ่น ร้อยละของนักเรียนที่มีนิสัย รักการอ่านเพิ่มขึ้น จำนวนหลักสูตรท้องถิ่น ร้อยละของผู้เรียนที่มีความเสี่ยงทางเพศลดลง ร้อยละของนักเรียนที่มียอดเงินออมเพิ่มขึ้น ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และร้อยละของครูที่ได้รับการยกย่องเป็นครูดีเด่นประจำปี ส่วนตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินไม่บรรลุเป้าหมาย มีจำนวน 2 ตัว ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 11-12 ร้อยละของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีทักษะการนวดเพื่อครอบครัว และร้อยละของนักเรียนที่ร่วมทัศนศึกษา และ ผลการประเมินแนวทางพัฒนา ในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ด้านผลกระทบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และด้านความคุ้มค่าของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38
คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนาโรงเรียน, องค์กรแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21,การบริหารเชิงดุลยภาพ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^