รายงานผลการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรีย
ชื่อผลงาน รายงานผลการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค)
ชื่อผู้รายงาน นางสุรีย์ บุญรักษา
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค)
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2556
การประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7
(บ้านหนองพังแค) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ในด้านสภาพแวดล้อม (Context)
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ซึ่งประเมินในปีการศึกษา 2556 จาก 6 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการปรับหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา 2) กิจกรรมเยาวชนรักษ์พลังงาน 3) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 4) กิจกรรมจัดการขยะ 5) กิจกรรมยุวเกษตรอินทรีย์ และ
6) กิจกรรมอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้
จำนวน 292 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กลุ่มละจำนวน 136 คน โดยใช้วิธีการการสุ่มแบ่งชั้น (Stratified Radom Sampling) ตามระดับชั้นเรียนของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ใน 4 ด้าน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Seale) โดยเรียงลำดับการปฏิบัติ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ได้ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination Power) เท่ากับ .38 - .84 และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือทั้งฉบับ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha – Coefficient) ด้วยวิธีของครอนบาค(Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7
(บ้านหนองพังแค) ปีการศึกษา 2556 ด้านสภาพแวดล้อมโดยรวมและรายกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และรายกิจกรรมสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ กิจกรรมอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน กิจกรรมยุวเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมเยาวชนรักษ์พลังงาน กิจกรรมจัดการ กิจกรรมการปรับหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
2. ผลการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7
(บ้านหนองพังแค) ปีการศึกษา 2556 ด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการ ด้านการวางแผนการดำเนินโครงการ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากรและด้านงบประมาณ โดยรวมและรายกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และรายกิจกรรมสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเยาวชนรักษ์พลังงาน กิจกรรมการปรับหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน กิจกรรมจัดการขยะ และกิจกรรมยุวเกษตรอินทรีย์
3 ผลการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7
(บ้านหนองพังแค) ปีการศึกษา 2556 ด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนของโครงการ การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ ด้านกระบวนการ โดยรวมและรายกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และรายกิจกรรมสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการปรับหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมยุวเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมจัดการขยะ กิจกรรมเยาวชนรักษ์พลังงาน และกิจกรรมอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน
4. ผลการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเมืองพัทยา 7
(บ้านหนองพังแค) ปีการศึกษา 2556 ด้านผลผลิตเมื่อสิ้นสุดโครงการ และเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยรวมและรายกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และรายกิจกรรมสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ กิจกรรมอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน
กิจกรรมยุวเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมการปรับหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเยาวชนรักษ์พลังงานและกิจกรรมจัดการขยะ ส่วนเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมาก