รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอา
อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้รายงาน นายประสิทธิ์ ล้านเชียง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านบึงท่ายวน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การทดลองในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบึงท่ายวน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียน
และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบึงท่ายวน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ประจำภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้
มี 4 ประเภท ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เป็นแบบ ทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อ
การเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ E1/E2 ของเอกสารประกอบการเรียนรู้ การหาค่า ความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยสูตรหาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC การหาค่าความยาก-ง่าย (p)
การหาค่าอำนาจจำแนก (r) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากสูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานในการผ่านเกณฑ์ ใช้ค่าสถิติ
t-test โดย dependent for samples และการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
การกำหนดเกณฑ์ เพื่อใช้ในการแปลความหมายของแบบสอบถาม ที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า Rating Scale
ผลการทดลอง พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบึงท่ายวน จำนวน 7 เล่ม มีประสิทธิภาพ 93.14/ 80.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วย เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
(μ = 4.10และ σ = 0.70)
โดยสรุป เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานประดิษฐ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้นในครั้งนี้มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้เป็นสื่อ ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้