รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึก
ผู้ประเมิน นายภูวนาท มูลเขียน
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2556
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการ การพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2556 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 โดยใช้รูปแบบวิเคราะห์ระบบ (System Analysis Approach) ของ นิศา ชูโต เป็นแนวทางเพื่อประเมินความก้าวหน้าของโครงการใน 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Output Evaluation)
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 165 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 1,900 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 330 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,395 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2556 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 โดยภาพรวมสรุปได้ดังนี้
1. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ประกอบด้วย การประเมินความเหมาะสมของสิ่งที่เป็นทรัพยากรต่างๆ ที่มีผลทำให้การดำเนินงานตามโครงการการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยสู่มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยครู การได้รับการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุและเครื่องมือในการให้บริการข่าวสาร เอกสาร คู่มือการดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ เด็กปฐมวัย และการได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ตามความคิดเห็นของครู มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การประเมินความเหมาะสมของการวางแผน การดำเนินโครงการ การประชาสัมพันธ์โครงการ การมีส่วนร่วมของศึกษานิเทศก์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็น การนำข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาและ การจัดกิจกรรมตามโครงการ พบว่า ตามความคิดเห็นของครู มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านผลผลิต ประกอบด้วย การประเมินผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่สถานศึกษาพอเพียง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
3.1 ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา พบว่า ผลการทดสอบความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ของครูหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยรวมสูงขึ้นทุกคน คิดเป็นร้อยละ 30.53
3.2 นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา พบว่า ผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนระดับปฐมวัยประจำปีการศึกษา 2556 โดยรวมเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการอยู่ในระดับดีทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 96.10
3.3 ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยสู่มาตรฐาน ปีการศึกษา 2556 พบว่า ตามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน