รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกดชั
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางนฤนาท จรัสศรี
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านม่วง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
ปีที่ศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านม่วง ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านม่วง และเพื่อหาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านม่วง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง แบบ One Group Pretest-Posttest Design ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ใช้ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและ การเขียนคำมาตราตัวสะกด หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถิติ t – test for Dependent Sample
ผลการศึกษามีดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 85.29/84.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมนักเรียนมีความความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.70 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47