การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้
ชื่อเรื่อง การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้
ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานาง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านหล่ายขานาง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ 3) เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรและตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 63 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และที่ปรึกษา จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 83 คน ใน ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () แปลความหมายจากค่าเฉลี่ยนำเสนอข้อมูลในรูปของตารางประกอบการบรรยาย ในส่วนเนื้อหาใช้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ อธิบายเป็นความเรียง ส่วนกลยุทธ์และแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน ใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหา ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมกลุ่มสัมมนา (Focus Group Discussion )
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่าด้านการวางแผนและการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการตรวจสอบและการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ในระดับมาก ในด้านผู้เรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก
2. ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้นั้นส่วนใหญ่พบว่า 1) งบประมาณไม่เพียงพอ 2) บุคลากรไม่เพียงพอโดยมีภาระงานมาก 3) สื่อ แหล่งเรียนรู้และ เทคโนโลยีขาดคุณภาพและไม่ทันสมัย
3. กลยุทธ์และแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ
1. กลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดโรงเรียนและชุมชน
2. กลยุทธ์การพัฒนา สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการระดมทุนและแสวงหาทุน ทรัพยากรจากชุมชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มาช่วยสนับสนุนด้านการพัฒนาให้มากยิ่งขึ้นโดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วในโรงเรียนและชุมชน ควรจัดตั้งเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ระหว่างท้องถิ่น ควรมีวิธีการจัดการในการลดภาระงานครู ควรส่งเสริมสนับสนุนครูให้สามารถทำวิจัยในชั้นเรียน