รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิช
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ๑) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ วิธีการดำเนินการศึกษาใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามี ๓ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ จำนวน ๙ เล่ม คือ บ้านกนกงาม บ้านสิมารักษ์ บ้านอุทโยภาศ บ้านปานสุขุม บ้านส่งคุ้ม บ้านใจทน บ้านเล่าลือ บ้านเล่าเน้ง และบ้านเพชรดำ ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมจากนั้นนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และแบบประเมินความเหมาะสมของเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/E2
ขั้นตอนที่ ๒ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อน และ หลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ โรงเรียนอนุบาลเขาค้อ (เจริญทองนิ่มวิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๒ จำนวน ๓๒ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) แบบแผนในการศึกษา คือ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ขั้นตอนที่ ๓ การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๒.๕๘/๘๐.๔๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนด
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน ชุด ประวัติศาสตร์เขาค้อ วิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๑๓๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก