การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง เลขยกกำลัง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT (Teams –Games – Tournament) เรื่อง เลขยกกำลัง สมมติฐานการวิจัย 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง เลขยกกำลัง มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลัง หลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT สูงขึ้น 3. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT อยู่ในระดับมากที่สุด
ขอบเขตการศึกษา 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ทั้งหมด 151 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 36 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3.ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลาทดลองสอน 13 คาบ ทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 2 คาบ รวมทั้งหมด 15 คาบ 4. ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง เลขยกกำลัง ตัวแปรตาม ได้แก่ 1.ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง เลขยกกำลัง 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเลขยกกำลัง 3. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง เลขยกกำลัง
สรุปผลการศึกษา 1.ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.60 /82.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบTGT เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบTGT เรื่อง เลขยกกำลัง อยู่ในระดับมากที่สุด