ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรั
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองกุลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
ผู้รายงาน นางดาวเรือง รอดเกตุ
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองกุลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1.2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.2 โรงเรียนบ้านหนองกุลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 24 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งหลักเกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้เนื่องมาจากผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยแบบฝึกจำนวน 6 เล่ม ได้แก่
เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นการอ่านจับใจความ
เล่มที่ 2 เรื่อง การอ่านจับใจความจากบทร้อยกรอง
เล่มที่ 3 เรื่อง การอ่านจับใจความจากบทเพลง
เล่มที่ 4 เรื่อง การอ่านจับใจความจากนิทาน
เล่มที่ 5 เรื่อง การอ่านจับใจความจากบทความ
เล่มที่ 6 เรื่อง การอ่านจับใจความจากหนังสือพิมพ์
2) คู่มือการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ ข้อสอบเป็นแบบทดสอบปรนัยมี 3 ตัวเลือก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที t - test (Dependent t - test)
สรุปผลการศึกษา
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
1.1 แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จับใจความ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( = 4.66)
1.2 คู่มือการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความทุกเล่ม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.76 )
1.3 ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เอกสารทุกเล่มมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพทั้งชุด 86.60 มีค่าของกระบวนการอยู่ระหว่าง 84.20 – 87.50 และมีค่าของกระบวนการมากที่สุด คือ เล่มที่ 3 เรื่อง การอ่านจับใจความจากบทเพลง และเล่มที่ 4 เรื่อง การอ่านจับใจความจากนิทาน เท่ากับ 87.50 น้อยที่สุด เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้น การอ่านจับใจความ เท่ากับ 84.20 มีค่าของผลลัพธ์มากที่สุด เท่ากับ 87.36
1.4 ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน ข้อสอบทั้งฉบับมีค่า IOC = 0.91 มีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความ ยากง่าย (P) 0.46 ค่าอำนาจจำแนก (r) 0.38 และมีความเชื่อมั่น 0.75
2. ผลการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 26.21) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 16.29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานหลัก ( H0 ) และยอมรับสมมติฐานรอง ( HA )
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ( = 4.51 ,S.D. = 0.23) ต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีประเด็นที่นักเรียนพึงพอใจมากที่สุด เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) รูปภาพสวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา ( = 4.63 , S.D. = 0.58) รองลงมาได้แก่ 2) ระบุพฤติกรรมที่ต้องการวัดไว้ชัดเจน ( = 4.63 , S.D. = 0.65) และ 3) เร้าความสนใจของผู้เรียน และ ขนาดตัวหนังสือพอเหมาะ พิมพ์ถูกต้อง ชัดเจน ( = 4.58 , S.D. = 0.65)
:em1: