ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางสาวชูศรี สังข์ผัน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการใช้แบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วย การเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 เล่ม 2) ) แบบทดสอบย่อยหลังใช้แบบฝึกเสริมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2จำนวน 9 ชุด มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.57/87.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วย การเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่ารวมเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.87 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.22