LASTEST NEWS

23 ก.ค. 2567กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดสอบพนักงานราชการ 10 อัตรา วุฒิม.3-ม.6 ตั้งแต่บัดนี้-25 กรกฎาคม 2567 23 ก.ค. 2567กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุรับราชการ วุฒิปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค.2567 23 ก.ค. 2567โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ เปิดสอบครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย / ประถมศึกษา รับสมัครตั้งแต่บัดนี้-26 กรกฎาคม 2567 23 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 100 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 23 ก.ค. 2567ศธ.เล็งแก้หนี้ครูระยะยาววางแผนให้ยื่นกู้สหกรณ์ข้ามจังหวัดได้ 23 ก.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา ปี 2567 (ภายใน 9 ส.ค.2567) 22 ก.ค. 2567โรงเรียนบ้านระนามพลวง (สมานราษฎร์วิทยาคาร) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป ค่าตอบแทน 6,000 บาท/เดือน (หกพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 23-26 ก.ค.2567 22 ก.ค. 2567ห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนจำคุก 2 ปี หรือปรับ 2 ล้านบาท 22 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมกิจการเด็กและเยาวชน เปิดสอบพนักงานราชการ 77 อัตรา วุฒิม.6-ปริญญาตรี รับสมัคร ตั้งแต่ 25 ก.ค. - 1 ส.ค.2567 22 ก.ค. 2567บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รับสมัครคัดเลือกบุคคลภายนอกเพื่อเข้าปฏิบัติงาน จำนวน 219 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 ก.ค.2567

รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกร

usericon

 รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกร
ชื่อเรื่อง                 รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนชาติตระการวิทยา
ผู้รายงาน                 นางพิมพ์นารา นุปิง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะชำนาญการ
ปีที่พิมพ์                 พ.ศ. 2556

บทคัดย่อ
         การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้การประเมินตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) กลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นบุคคล ภายนอกโรงเรียน จำนวน 13 คน และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอ ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 275 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความต้องการเร่งด่วนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ จำนวน 3 ข้อ 2) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินบริบท จำนวน 10 ข้อ 3) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้าจำนวน 10 ข้อ 4) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินกระบวนการด้านการบริหารโครงการ จำนวน 20 ข้อ 5) ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ข้อ 6) ฉบับที่ 6 แบบสอบถามประเมินความสำเร็จของโครงการสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 ข้อ และ 7) ฉบับที่ 7 แบบสอบถามประเมินความสำเร็จและประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ สำหรับนักเรียน จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    ผลการประเมินโครงการ ปรากฏดังนี้
         1. ก่อนดำเนินงานตามโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปีการศึกษา 2555) พบว่า โรงเรียนชาติตระการวิทยาเป็นสถานศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” สถานศึกษาที่มีความพร้อมทั้งด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และงบประมาณ สามารถพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ อีกทั้งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
        2. การประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของโครงการ ความชัดเจน และการเตรียมการเพื่อดำเนินงานโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบสอดคล้องยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาของโรงเรียน และ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมการการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบเน้นการมีส่วนรวมของทุกภาคส่วน การกำหนดหลักการและเหตุผลสอดคล้องกับนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด ส่วนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ในโรงเรียน สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
        3. การประเมินปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และการได้รับการสนับสนุน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมชัดเจน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ และชุมชน และผู้ปกครองนักเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ ส่วนมีวัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีดำเนินโครงการที่ทันสมัยและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ
        4. การประเมินกระบวนการเกี่ยวกับกระกระบวนการบริหารโครงการตาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกิจกรรมการจัดทำหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ และมีการบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนกระบวนการในการดำเนินงานตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมมีโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมงานเพื่อชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
        5. การประเมินผลผลิต เกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูและบุคลากรทางการศึกษารวมถึงผู้เรียนมีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษามีความเข้าใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนความสำเร็จและประโยชน์ที่เข้าร่วมโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน โดยผู้เรียนได้เรียนรู้และได้ฝึกลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมงานเพื่อชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริงค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้เรียนสามารถเสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผู้เรียนประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
    ผลจากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดทั้งปีการศึกษา 2556 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ครอบคลุมทั้งด้านการบริหารและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการ การจัดกิจกรรมด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป
27 ก.ค. 2557 เวลา 10:24 น. 0 1,855
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^