รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเรื่องสระเปลี่ยนรูป เมื่อมี
เมื่อมีตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสระเปลี่ยนรูป
เมื่อมีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้รายงาน นางทัศนีย์ มะโนชาติ
โรงเรียน บ้านสมบูรณ์ (ปัญจวิทยา) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ปีที่พิมพ์ ปี ๒๕๕๖
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนเรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดโดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านสมบูรณ์ (ปัญจวิทยา) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘o / ๘o๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านสมบูรณ์ (ปัญจวิทยา) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด ๓)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านสมบูรณ์ (ปัญจวิทยา) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านสมบูรณ์ (ปัญจวิทยา) อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ ๑ปีการศึกษา ๒๕๕๖จำนวน ๑๑คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น สอนสัปดาห์ละ ๖ชั่วโมง จำนวน ๕สัปดาห์ รวม ๓oชั่วโมง แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูป เมื่อมีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑จำนวน ๑๕ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๓ตัวเลือก จำนวน ๓oข้อ ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างละ ๑ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น ๒ชั่วโมง และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ระดับ ( Rating Scale ) จำนวน ๑๕ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test ( Dependent Sample )
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำ เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ท๑๑๑o๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๕.๗๕/๘๔.๔๖ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๒. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูป เมื่อมีตัวสะกดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .o๕
๓. ความพึงพอใจต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒โรงเรียนบ้านสมบูรณ์ (ปัญจวิทยา) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก