รายงานการพัฒนาชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโ
ผู้ศึกษา นางอัญชลี กองเงิน
ปีที่ศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้เป็นไปตามตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่สา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คือ 82.02/81.43 สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและวิเคราะห์ความก้าวหน้าปรากฏว่ามีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 31.43
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง งานเกษตรรอบรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (μ = 4.71)