ผลการจัดกิจกรรมการเล่นชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติเพื่อพัฒนาความสา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านดอนมูล อำเภอทุ่งหัวช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 30 คน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองใช้ชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติในช่วงกิจกรรมเสรี เป็นเวลา 24 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ จำนวน 4 ชุด 12 ชิ้นและคู่มือการจัดกิจกรรมของเล่นพื้นบ้านจากวัสดุธรรมชาติ จำนวน 1 เล่ม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กที่ได้พัฒนามาจาก แบบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของอรุณวันท์ ทะพิงค์แก (2545) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 4 ชุดในหนึ่งชุดมีของเล่นจำนวน 3 ชิ้น รวมทั้งหมดจำนวน 12 ชิ้น โดยการเล่นของเล่นแต่ละชิ้นเด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในการหยิบ จับอุปกรณ์ ออกแรงดึง ต่อ กลิ้ง ร้อยเชือก เสียบ คีบ สาน โยน ตี ได้ใช้ข้อมือ มือ นิ้วมือ รวมถึงการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาในการเล่น
2 ) ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่นชุดของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ โดยคะแนนความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของประชากรหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง แต่การกระจายของคะแนนหลังการทดลองมีน้อยกว่าก่อนการทดลอง