การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระกา
ผู้ศึกษา นางสาวอลิชา แสนชัย
โรงเรียน บ้านหนองกุงโนนทัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
ปีที่ศึกษา พ.ศ.2557
บทคัดย่อ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นผลผลิตของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขต และได้รับการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบหลากหลายให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพความต้องการของผู้ที่ต้องการเรียนรู้และผู้พัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้นั้น ๆ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองกุงโนนทัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นห้องที่ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนประจำวิชาภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 15 แผน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก ระหว่าง 0.35 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.13 – 0.73 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 แบบวัดความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.57 ถึง 0.90 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.17/ 80.32 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 5 เล่ม มีค่าดัชนีประสิทธิผล ในการเรียนรู้ เท่ากับ
0. 6860 หมายความว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.6860
คิดเป็นร้อยละ 68.60
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด