ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิต
ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา สุทิศา สมบัติทวี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดหนองนา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 26 คน เป็นชาย 18 คน หญิง 8 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดหนองนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 โดยการเลือกแบบเจาะจงเพื่อดำเนินการทดลอง ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน โดยจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยจำนวน 5 เรื่อง ดำเนินการจัดกิจกรรมเรื่องละ 8 วัน หรือ 2 สัปดาห์ ในวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี วันละ 20 นาที ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ช่วงเวลา 10.00 น. - 10.20 น. รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ใช้แบบแผนการวิจัยโดยการประยุกต์มาจากการดำเนินการวิจัยแบบ One Group Time - Series กับแบบ One Group Pretest - Posttest design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 82.70/86.40
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 คิดเป็นร้อยละ 46.50 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.64 คิดเป็นร้อยละ 86.40โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า
2.1 ทักษะการจำแนกประเภท ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 คิดเป็นร้อยละ 42.70 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.54 คิดเป็นร้อยละ 85.40โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ทักษะการเปรียบเทียบ ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 คิดเป็นร้อยละ 49.20 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.58 คิดเป็นร้อยละ 85.80โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะการรู้ค่าจำนวน 1-10 ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 คิดเป็นร้อยละ 47.30 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.73 คิดเป็นร้อยละ 87.30โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.4 ทักษะการเพิ่ม-ลดภายในจำนวน 1-10 ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 คิดเป็นร้อยละ 46.90 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.69 คิดเป็นร้อยละ 86.90โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01