รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศ
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2556 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยวิธีการประเมิน 3 ลักษณะคือ 1) การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น 2) การประเมินโดยหน่วยงานต้นสังกัด (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16) และ 3) การประเมินโดยใช้แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 294 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2556 จำนวน 52 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 294 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.84-0.93 แบบบันทึกผลการประเมินสถานศึกษาพอเพียง ต้นแบบ ปีการศึกษา 2556 โดยหน่วยงานต้นสังกัดและแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2556 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 11.5 ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = .10) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D. = .17) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = .35) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.38, S.D. = .46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดบุคลากร ( = 4.33, S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.23, S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = .23) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .14) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = .17) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 คุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .12) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = .15) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D. = .20) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ความสามารถในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.42, S.D. = .18) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = .14) ได้คะแนนเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา คุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน คุณภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ พบว่า ทุกด้านมีคุณภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับดี-ดีมาก ได้คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.85-4.00 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ มีระดับคุณภาพการปฏิบัติสูงสุด คะแนนเฉลี่ย 4.00 รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา คะแนนเฉลี่ย 3.94 ส่วนด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้คะแนนเฉลี่ย 3.85 มีคะแนนเฉลี่ยระดับคุณภาพการปฏิบัติต่ำสุด ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ได้คะแนน 17 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 คุณภาพของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69.37 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET : Ordinary National Education Testing) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม ปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.64 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.92 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม ปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.16 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.49 ปีการศึกษา 2556 ระดับชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.42, S.D. = .20) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.39, S.D. = .19) มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = .14) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน 15 ตัวชี้วัดหลัก ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 15 ตัวชี้วัด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จากผลการประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้น ในการจัดทำโครงการโรงเรียน ควรชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการให้ชัดเจน
2. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การติดตามและประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในการพัฒนาบุคลากร เช่น การประชุม อบรมสัมมนา จัดกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมถอดประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประเมินผลเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเผยแพร่สู่ชุมชน ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม เคารพเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
4. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยประยุกต์ทฤษฎีการประเมินอื่นๆ มาใช้ในการประเมินโครงการ เช่น การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ และสำหรับสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบแล้ว ควรรักษาสภาพ/พัฒนาให้เห็นถึงความก้าวหน้า สู่ความยั่งยืนต่อไป
2. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง