ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครง
ชื่อผู้วิจัย นลินี บุษบงก์
ปี 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการสร้างและพัฒนาคู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย ในครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนชั้นปฐมวัยก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 5) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูผู้สอนชั้นปฐมวัย ปีการศึกษา 2555 ที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์,2540 : 49) จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย รุ่นที่ 2 จำนวน 20 โรงเรียน จำนวน 40 คน 2) เด็กชั้นปฐมวัย ปีการศึกษา 2555 ที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์,2540 : 49) จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย รุ่นที่ 2 จำนวน 20 โรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้ใช้เครื่องมือดังนี้ 1) คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์จากคู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 3) แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของครูปฐมวัย หลังการใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนชั้นปฐมวัย ที่มีต่อการใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย 5) แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ผู้วิจัยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test
สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย ได้ผ่านการตรวจสอบ แก้ไข ประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและมีคุณภาพในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.68
2. ความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์จากคู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจสูงกว่าก่อนการอบรมและเมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t-test พบว่าครูมีคะแนนสูงกว่าก่อนฝึกอบรมโดยใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. พฤติกรรมการจัดประสบการณ์ของครูผู้สอนหลังได้รับการนิเทศและใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย พบว่า พฤติกรรมการสอนของครูอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.61
4. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาโดยใช้คู่มือฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์แบบโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.54
5. พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ พบว่า ระดับพัฒนาการด้านสติปัญญานักเรียนส่วนใหญ่ในทุกโรงเรียนอยู่ในระดับดีทุกด้าน