การจัดกิจกรมการเรียนรู้แบบโครงงานประกอบเอกสารการจัดการเรียนรู้ ช
ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวรุ่งอรุณ จันทร์มณี
ปีที่วิจัย 2555
การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดิศกุล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 แผน หนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์ ชนิด เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่น
ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน แบบมาตรส่วนประมาณค่า
3 ระดับ จำนวน 10 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .88
ผลการวิจัย พบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบย่อยท้ายหนังสือส่งเสริมการอ่าน คิดเป็นร้อยละ
86.53 คะแนนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 84.39 ซึ่งหมายความว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เท่ากับ 86.53 /84.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ จากการทดสอบก่อนเรียน (Pre - test)
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.77 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1. 41 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ จากการทดสอบหลังเรียน (Post - test) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.32 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.29 และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที พบว่า มีค่าทีเท่ากับ 25.75 แสดงว่าคะแนนหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านสาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน สาระ
เศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.48 และทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด