การพัฒนาการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และพฤติกรรมครูสู่การสอนที่เน
ชื่อผู้วิจัย นายบุญศรี แสงศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัวเชด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554 - 2555
ลักษณะงานวิจัย งานวิจัยประเภทผลงานทางวิชาการ สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการ เชี่ยวชาญ
วัตถุประสงค์การวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
บ้านบัวเชด โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และพฤติกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนบ้านบัวเชด
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านบัวเชด
3.เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านบัวเชด
ระเบียบวิธีวิจัย
การดำนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ธ (Kemmis;&Mc Taggart.2000) มี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติ 3)ขั้นสังเกต และ 4) ขั้นสะท้อนผล กิจกรรมสำหรับการพัฒนาครูและบุคลากรในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์ การสอนโดยใช้โครงงาน การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน การสังเกตการสอน และการสนทนาโต้ตอบ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านบัวเชด เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินพฤติกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกผล/แบบทดสอบการเรียนรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติทดสอบวิลคอกซัน (The wilcoxon T test for two Related Samples) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบัวเชด มีการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีพฤติกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านบัวเชดมีความเหมาะสมดีมากและสามารถนำไปใช้ได้
4. ผลกระทบจากการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไปใช้ในโรงเรียนบ้านบัวเชด ได้ผลปรากฏ ดังนี้
4.1 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด(เฉลี่ย เท่ากับ )
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 มีผลการสอบเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศเช่นเดียวกัน
4.3 ผลคะแนนการสอบ LAS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่หนึ่งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลคะแนน LAS ได้เป็นลำดับที่ 3 ในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกชั้นมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2554
4.4 โรงเรียนบ้านบัวเชดได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 3โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ข้อเสนอแนะการวิจัย
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาฐานข้อมูลของโรงเรียนเทียบกับเป้าหมาย และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ชัดเจน มีระบบนิเทศ ติดตาม กำกับภายในอย่างต่อเนื่อง
2. โรงเรียนควรมีการประเมินผลพฤติกรรมครูในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็น 3 ระยะคือ ก่อนการพัฒนา ระหว่างพัฒนาและหลังการพัฒนา นำผลการประเมินที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาวิเคราะห์สาเหตุและหาแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป