หัวข้อวิจัย การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการ ตามแนวพระราชดำริ
เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย นายณรงค์ฤทธิ์ ห่วงไธสง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร(บ่อนไก่)
สังกัด กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1) เข้าใจ 2) เข้าถึง และ 3) พัฒนา ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 106 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามมาตรวัดแบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ ได้แก่ หลักเข้าใจ จำนวน 12 ข้อ หลักเข้าถึง จำนวน 12 ข้อ และหลักพัฒนา จำนวน 12 ข้อ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นด้วยแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร
ด้านเข้าใจ ในภาพรวมมีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับ 1 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ ระดับภูมิปัญญาสังคมของชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 มี 2 ข้อ ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และ สถานศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางหรือรูปแบบในการเข้าสู่ชุมชนเพื่อการบริการวิชาการทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ บริบทด้านอาชีพหรือวิชาชีพของชุมชนเพื่อการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
และอันดับท้ายสุด คือ สถานศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ ทรัพยากร(คน วัสดุ-ครุภัณฑ์ งบประมาณ และเทคโนโลยี) ที่เหมาะสมกับการบริการวิชาการในแต่ละพื้นที่ของชุมชน มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านเข้าถึง ในภาพรวม มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับ 1 มี 2 ข้อ ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชนในการใช้หรือแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกันเพื่อการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และสถานศึกษาควรมีระบบการบริการฐานข้อมูลด้านวิชาการที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการประชาสัมพันธ์ ภารกิจ หน้าที่ และข่าวสารกิจกรรม เพื่อการบริการวิชาการในชุมชนอย่างทั่วถึง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 ได้แก่สถานศึกษาควรมีการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือภายในชุมชนเพื่อการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ และอันดับท้ายสุด คือ สถานศึกษาควรมีการจัดระบบกลไกการบริการวิชาการ ที่เน้นการให้เปล่าและมีคุณภาพ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านพัฒนา ในภาพรวม มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ อันดับ 1 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีกระบวนการจัดการฝึกปฏิบัติหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับชุมชนได้อย่างหลากหลาย มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีระบบติดตามประเมินผลการให้บริการวิชาการกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการกระบวนการหรือกลไกในการติดตามความก้าวหน้าด้านประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระที่เป็นผลจากการบริการวิชาการชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ และอันดับท้ายสุด มี
3 ข้อ คือ สถานศึกษาควรมีรูปแบบ หรือตัวอย่างแบบความสำเร็จด้านอาชีพหรือวิชาชีพในการให้ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด สถานศึกษาควรมีการสร้างทีมพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำด้านการประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพอิสระแก่ชุมชน มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และ สถานศึกษาควรมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้บริการวิชาการกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด