การใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตราของนักเรียนช
ผู้ศึกษา นางสาวพัชรินทร์ เจริญบุญญากุล
โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ทำการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การศึกษา เรื่อง การใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 92 คนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 25 คน ที่ได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความ พึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t – test Independent) ผลการศึกษาพบว่า
1. การทดลองหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.64/81.43 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 กล่าวได้ว่าประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 17.33 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการสอน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 7.56 ซึ่งเพิ่มขึ้น 9.78 เมื่อพิจารณาจากการเปรียบเทียบค่า t – test พบว่านักเรียนที่เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ได้รับการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลปรากฏว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย รวม 4.61 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49