รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ
จำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นวลระหงษ์ ศิริงาน
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านดู่อาราง อำเภอศีขรภูมิ
จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการรายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดู่อาราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวนนักเรียน 23 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 ชุด ระดับคะแนนเฉลี่ยของชุดฝึกทักษะ ทั้ง 9 ชุด เท่ากับ 4.82 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง ระดับคะแนนเฉลี่ยของแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 9 ชุด เท่ากับ 4.76 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.43 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25 – 0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 84.06/82.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งได้คือ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) ) กับเมื่อหลังเรียนระยะเวลาผ่านไป 14 วันไม่แตกต่างกัน แสดงว่าชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้