รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขอ
ผู้รายงาน นางสาวกชพรรณ นาเสถียร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียน
เสลภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ
CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ (2) ประเมินปัจจัยของโครงการ (3) ประเมินกระบวนการของโครงการ (4)ประเมินผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ (5)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียนเสลภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970 : 608 :609 ) ได้กลุ่มตัวอย่างดังนี้ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ครูผู้สอนจำนวน 55 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 260 คน และ นักเรียนจำนวน 285 คน ประจำปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
(1) ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน เห็นว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเสลภูมิ ได้กำหนดหลักการและเหตุผลสอดคล้องกับนโยบายหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ ด้านสภาพแวดล้อม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
(2) ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการ พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนเสลภูมิ มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยของโครงการโดยรวม เห็นว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โรงเรียนได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่คณะกรรมการ ครู ในโรงเรียนเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ ด้านปัจจัย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
(3) ผลการประเมินด้านกระบวนการพบว่า ครู และนักเรียนโรงเรียนเสลภูมิ มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยของโครงการโดยรวม เห็นว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเสลภูมิ มีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ ด้านกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
(4) ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ของโรงเรียนเสลภูมิมี
ความคิดเห็นต่อด้านผลผลิต ของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ถือว่าผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ ด้านกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งผลการประเมินทั้ง 4 ด้านเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
(5) ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 จากการตอบแบบสอบถาม พบว่า โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเสลภูมิ เป็นโครงการที่ดี และมีการนำเสนอผลงานนักเรียนที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่ผลงานสู่ประชาชน มีความต้องการให้ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น