รายงานผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ส
การแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางทัศนา อุตเจริญ
ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนวัดหนองหล่ม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ปีที่ศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและ
การแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS โดยเปรียบเทียบ
คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนสามารถทำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 66.40
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ
และการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่า 0.82
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS พบว่า นักเรียนมี
ความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35