บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินผลการดำเนินการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2555 ได้นำรูปแบบของการประเมินแบบซิปป์(CIPP model) เป็นรูปแบบในการประเมินโครงการและกิจกรรม ซึ่งเป็นการประเมินคุณภาพของโครงการโดยผู้รายงาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของครู บุคลากรและนักเรียน ดังนี้
1.1 ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวมทั้งสี่ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ครู บุคลากร ที่รับผิดชอบโครงการ และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เข้าใจในการผลิต ผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
ด้านบริบท ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)และแผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แต่จะต้องปรับปรุงพัฒนาด้านสถานที่ ห้องปฏิบัติการ แปลงสาธิตเพื่อการจัดกิจกรรมให้มีความเหาะสมมากขึ้น
ด้านปัจจัย ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้เหมาะสมกับผู้เรียนและเพียงพอ แต่จะขาดงบประมาณที่สนับสนุน
ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าโครงการ มีกระบวนปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานทุกระยะเกิดประสิทธิภาพต่อโครงการ แต่ควรนำผลการประเมินไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาโครงการจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ผลการประเมินการจัดกิจกรรม ที่ดำเนินการตาม โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน โดยภาพรวม 5 กิจกรรม ครู บุคลากรมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด และนักเรียนระดับมาก และมีความเห็นตรงกัน คือ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก เป็นกิจกรรมที่เด่นที่สุด ส่วนกิจกรรมที่ต้องปรับปรุงพัฒนา คือ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
กิจกรรมที่ 1 การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ผู้เรียนสามารถเก็บรักษา การซ่อมแซมเครื่องมือการเกษตรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยตามหลักวิชาการ และ ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ครู บุคลากรผู้รับผิดชอบกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย จัดการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศน่าสนใจ น่าเรียนน่าศึกษา แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ การเตรียมบ่อ การให้อาหาร การป้องกันรักษาและการรักษาคุณภาพน้ำ
กิจกรรมที่ 2 การเลี้ยงกบ โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ได้รับความรู้ หลักการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมีวิธีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโครงการ และกิจกรรม แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ จัดหาครูและบุคลากรผู้รับผิดชอบกิจกรรมการเลี้ยงกบ ที่มีความรู้ความสามารถจัดการเรียนรู้ให้ครบองค์รวมเต็มศักยภาพ และจัดตั้งหรือรวมกลุ่มนักเรียนให้สามารถทำงานในฐานะผู้นำ สมาชิกกลุ่ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม
กิจกรรมที่ 3 การปลูกพืชผักสวนครัว โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติจริง แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ สถานที่ ที่ใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ควรจัดให้มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ตามลักษณะของกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้จริง ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูล ที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมีเพียงพอ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องจัดให้สะอาด ปลอดภัย บรรยากาศน่าเรียน และนักเรียนสามารถผลิตและประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทั้งแบบแห้งและแบบน้ำได้และสร้างความตระหนักในการรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ 5 การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม มีคุณค่า น่าสนใจ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีการสอดแทรกคุณธรรมควบคู่กับการฝึกปฏิบัติและควรส่งเสริมเป็นอาชีพต่อไป
1.3 ด้านผลผลิต ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าครู
บุคลากรมีความรู้และให้ความสำคัญในการพัฒนากิจกรรม ตามโครงการอย่างดียิ่ง นักเรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านการเกษตรตามกิจกรรมกำหนด แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าและประหยัด รายละเอียด ดังนี้
1.3.1 ครู บุคลากรมีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ร้อยละ82.35 การพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 30.06 และคะแนนทดสอบ วัดองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรมของครู บุคลากรทดสอบหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา
1.3.2 นักเรียนมีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ร้อยละ82.26 การพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 33.38 คะแนนทดสอบวัดองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรมของนักเรียน คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
1.3.3 ความพึงพอใจของครู บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการโครงการ เฉลี่ยระดับมากที่สุด เพราะโครงการมีรูปแบบการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มบุคคล การมอบหมายงานเป็นคำสั่งและมีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครู บุคลากรและนักเรียนการเข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจ เกิดความรัก ศรัทธาในอาชีพการเกษตร เห็นคุณค่าในภูมิปัญญาไทย เพราะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้เรียน น่าสนใจ มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน โครงการให้รับทราบและโรงเรียนได้เชิญให้ ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรมในโครงการ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ด้านสถานที่จัดกิจกรรม เน้นเรื่องสะอาด ร่มรื่น ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โรงเรียนควรนำเรื่องเทคโนโลยีชาวบ้านหรือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในท้องถิ่น มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้สังเคราะห์ข้อเสนอในองค์ประกอบของแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการและรายกิจกรรม เพื่อการพัฒนาโครงการและกิจกรรม ดังนี้
2.1 ควรมีการระดมทรัพยากรสนับสนุนโครงการจากทุกภาคส่วน
2.2 จัดเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระการเรียนรู้งานเกษตร ด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ
2.3 บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกบควรทำเป็นบ่อถาวร
2.4 ด้านสถานที่จัดกิจกรรมแปลงเกษตรไม่เพียงพอควรจัดเพิ่มเติม
2.5 โรงเรียนควรนำเรื่องเทคโนโลยีชาวบ้าน หรือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในท้องถิ่น มาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ผลสรุปแบบบันทึกต่าง ๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และผลผลิตพร้อมผู้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน
ผู้รายงานนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
3.1 แบบบันทึกเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงาน ใช้บันทึกจำนวนหรือผลผลิต และรายได้ตามลักษณะในแต่ละกิจกรรม จำนวน 5 ชุด
3.1.1 การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ปีการศึกษา 2555 เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย 4 ครั้ง/ปี ครั้งละ2,000 ตัว ค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิต 3,655 บาท/บ่อ จำหน่ายผลผลิต 5,220 บาท/บ่อ กำไร 1,545 บาท/บ่อ รวมทั้ง 4 บ่อ เป็นเงิน 6,180 บาท
3.1.2 การเลี้ยงกบ ปีการศึกษา 2555 เลี้ยงกบ 2 ครั้ง/ปี ครั้งละ400 ตัว ค่าใช้จ่ายต้นทุน การผลิต 830 บาท/บ่อ จำหน่ายผลผลิต 1,280 บาท/บ่อ กำไร 450 บาท/บ่อ รวมทั้ง 4 บ่อ เป็นเงิน 1,800 บาท
3.1.3 การปลูกพืชผักสวนครัว ภาคเรียนที่ 2 มีพื้นที่ใช้ปลูกผัก 260 ตารางเมตร แปลงผักจำนวน 64 แปลง รวมผลผลิตทั้งหมด 640 กิโลกรัม รวมมูลค่าผลผลิต 3,240 บาท ผลิตผลมอบให้โครงการอาหารกลางวัน 300 กิโลกรัม จำหน่าย – รอจำหน่าย บริโภคและประชาสัมพันธ์ รวมมูลค่าสุดท้ายของเป้าหมาย มูลค่าผลผลิต 5,240 บาท
3.1.4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ พื้นที่ใช้กองปุ๋ยหรือโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ( ขนาด 3 x 3 เมตร จำนวน 3 บอล์ค) 27 ตารางเมตร จำนวนปุ๋ยที่ผลิตได้ทั้งหมด จำนวน 450 กิโลกรัม รวมมูลค่าสุดท้ายของเป้าหมาย มูลค่าผลผลิต 2250 บาท
3.1.5 การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก น้ำข้าวกล้องงอก ผลิตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ120 ขวด จำนวนขวดที่ผลิตได้ทั้งหมด 1200 ขวดและ ข้าวกล้อง ผลิต เดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละ 30 ถุง ๆ ละ1 กิโลกรัม ตลอดปีการศึกษา รวมมูลค่าผลผลิตน้ำข้าวกล้องงอกและข้าวกล้อง 19,000 บาท ต้นทุนการผลิต 6000 บาท รวมมูลค่าสุดท้ายของเป้าหมาย มูลค่าผลผลิต 13,000 บาท
3.2 แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคลและกลุ่ม
ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคลทั้ง 5 กิจกรรม ตามโครงการโดยภาพรวมคุณภาพระดับดีมาก รายกิจกรรม คุณภาพระดับดีมากทุกกิจกรรม ส่วนพฤติกรรมกลุ่ม ภาพรวมคุณภาพระดับดีมาก
รายกิจกรรม พบว่า นักเรียนชอบกิจกรรมการผลิตน้ำข้าวกล้องงอกเป็นพิเศษ
3.3 แบบบันทึกการรับประทานอาหารกลางวันนักเรียนชั้นอนุบาล 1– 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 สรุป นักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 99.17 ซึ่งได้รับการสนับสนุนวัตถุดิบจากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน
3.4 แบบบันทึกน้ำหนักและวัดส่วนสูง สรุปภาวะทุพโภชนาการนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อต้นปีการศึกษา 2555 นักเรียนมีน้ำหนัก และส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์กรมอนามัยรวม 56 คน คิดเป็นร้อยละ 26.29 และเมื่อสิ้นต้นปีการศึกษา 2555 นักเรียนมีน้ำหนัก และส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์กรมอนามัยรวม 00 คน คิดเป็นร้อยละ 00.00 แสดงว่านักเรียนนักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
จากการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินเกิดผลสะท้อนเชิงประจักษ์หลายอย่าง ทั้งจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนา ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการส่งผลแก่ นักเรียน ครู บุคลากร ผู้บริหาร สถานศึกษาและผู้ปกครอง ชุมชน ผู้รายงานจึงสรุปพอสังเขป ดังนี้
1. จุดเด่นการจัดกิจกรรมจากการประเมินคุณภาพโครงการของครูผู้รับผิดชอบโครงการ และนักเรียนที่ร่วมโครงการ ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมระดับมากที่สุด และการประเมินคุณภาพรายกิจกรรม ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ย ระดับมากที่สุด 4 กิจกรรม โดยเฉพาะ
“ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก ” ส่วนที่ควรปรับปรุงพัฒนาพบว่า ด้านงบประมาณสนับสนุน สถานที่ ที่ใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ควรจัดให้มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ตามลักษณะของกิจกรรมและสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน ดังนี้
2.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน จากปีการศึกษา 2554 - 2555 เป็นต้นมาโรงเรียนบ้านพอกโนนหนองผือคำไผ่ใต้ ได้จัดอาหารกลางวันให้เด็กรับประทานครบทุกคนทุกวัน ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน โดยเฉลี่ย ลดลงคิดเป็นร้อยละ 00.00 ตามลำดับ ปัจจุบันโรงเรียนปลอดเด็กขาดสารอาหาร และนักเรียนที่ร่วมโครงการได้รับความรู้และมีความรู้ทักษะการปฏิบัติ ประสบการณ์และรู้จักแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ด้านการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำปุ๋ยหมักชีวะภาพ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก และการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นทักษะประกอบอาชีพในอนาคตได้ (น.ส.สุดารัตน์ คุณรักษ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นยุวเกษตรกรดีเด่น)
2.2 ผลที่เกิดกับครู บุคลากร ครูมีความตระหนัก มีความรู้ในการสร้างนวัตกรรม การสร้างแหล่งเรียนรู้ เกิดองค์ความรู้ใหม่มีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เรียนรู้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวตนเอง และสร้างเครือข่ายในเครือญาติและเพื่อนบ้านใกล้เคียง และบุคลากรได้นำองค์ความรู้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมไปจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ และประกวดผลงานเด่น ได้แก่
นางวรรณภา วิริยะพันธ์ ทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เรื่อง การผลิตนำข้าวกล้องงอก
นางวิภาวรรณ สุขสงสาร ได้รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS)ประจำปี 2555 ครั้งที่ 2 ประเภท ครูผู้สอนยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม เรื่อง การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก ได้รับรางวัล เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกวดที่จังหวัดชัยภูมิ
2.3 ผลที่เกิดกับผู้บริหารและสถานศึกษา นายธนู ว่องไวตระxxxล ผู้อำนวยการโรงเรียนได้เสนอขอรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) ประจำปี 2555 ครั้งที่ 2 ระดับชาติ ประเภท ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม เรื่อง คู่มือการจัดกิจกรรมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืนได้รางวัล เหรียญเงิน ระดับชาติ ประกวดระหว่างวันที่ 13 –15 กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองทองธานี
ด้านสถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์น้ำ ให้นักเรียน ครูได้ศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนการสอน เป็นแหล่งอาหารให้กับโครงการอาหารกลางวัน และช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โรงเรียนและได้รับรางวัล ดังนี้
- ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดนิทรรศการ “ ถนนคนเรียน ”งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ 62 ระหว่างวันที่ 6 – 9 ธันวาคม 2555 ณ จังหวัดชัยภูมิ
- ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดนิทรรศการ“ มหกรรมวิชาการสืบสานวิถีไทย ก้าวไกลสู่อาเชียน ” ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19–20 ธันวาคม 2555 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2
- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทสถานศึกษายุวเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร ( อ.ทวี มีข้อมูล )
2.3 ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง ชุมชน จากการเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2555 มีบ่อปลาทุกครอบครัว มีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 3 แห่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะในหมู่บ้านเขตบริการของโรงเรียน ผู้ปกครองร้อยละ 97.05 ประกอบอาชีพการเกษตรจึงมีความตื่นตัวในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรแบบผสมผสานมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือน และอาจจะเป็นเพราะนักเรียนได้เรียนรู้ในกิจกรรมการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์น้ำ เกิดความรักในอาชีพการเกษตรจึงนำไปขยายผลและสร้างเครือข่ายต่อให้ผู้ปกครอง และญาติ ๆ
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน โรงเรียนได้จัดทำแผ่นพับ หนังสือประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ จัดทำซีดีเผยแพร่ให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2 สถานศึกษา หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ ได้รับทราบ
3. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมิน ควรมีการประสานงาน โครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ไม่ควรเปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการและไม่ควรเน้นเรื่องการประเมินอย่างเดียว ควรให้ความสำคัญในเรื่องการนิเทศ ช่วยเหลือสนับสนุน
การนำผลการประเมินไปใช้ หากนำรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ควรเลือกใช้กิจกรรมที่มีความเหมาะสมในด้านปัจจัยการผลิต เช่น โรงเรียนมีครูวิชาเอกสาขาเกษตร พื้นที่เพียงพอ แหล่งน้ำ และความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง เป็นต้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกิจกรรมต่าง ๆ ควรมีการประเมินพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ของนักเรียนควบคู่กันไป โดยใช้วิธีสังเกต สอบถาม หรือสร้างแบบประเมินโดยให้นักเรียนประเมินพฤติกรรมซึ่งกันและกัน เครื่องมือในการประเมินครั้งนี้ มีหลากหลาย และครอบคลุม มีการสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานสามารถใช้ในงานครั้งต่อไป หรืออาจปรับปรุงใช้ในงานลักษณะเดียวกัน
การประเมินครั้งต่อไป ควรประเมินคุณภาพบริหารจัดการโครงการ การจัดกิจกรรมด้านการเกษตร ควบคู่กับประเมิน การพัฒนาพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน