การประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2556 ใน 4 ประเด็น คือ การประเมินบริบทของโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิตก่อนการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต (Process Evaluation) และการประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2555 จำนวน 24 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 24 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2555 จำนวน 100 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 100 คน ประเมินตามกรอบแนวคิดแบบจำลองการประเมินซิปป์ (CIPP Model) นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิตก่อนการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Context Evaluation) พบว่า สภาพในการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2555 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการดำเนินงานในระดับมาก ส่วนด้านการพัฒนาบุคลากร มีการดำเนินงานในระดับปานกลาง
ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพความสำเร็จของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2555 พบว่า ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองมีความพึงพอใจในภาพความสำเร็จของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2555 อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต (Input Evaluation) พบว่า มีความพร้อม/ความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต (Process Evaluation) พบว่า ขั้นการวางแผน (Plan : P) ขั้นการดำเนินงาน (Do : D) ขั้นการตรวจสอบ (Check : C) และขั้นการปรับปรุงพัฒนา (Action : A) มีการปฏิบัติงานในระดับมากทุกขั้นตอน
4. ผลการประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต (Product Evaluation) พบว่า สภาพการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2556 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและด้านการพัฒนาบุคลากร ทุกด้านมีการดำเนินงานในระดับมาก
ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพความสำเร็จของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2556 พบว่า ผู้บริหาร ครู และปกครองมีความพึงพอใจในภาพความสำเร็จของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต ปีการศึกษา 2556 อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ในการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงควรชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถึงบริบท จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาของโรงเรียนก่อนการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นข้อมูลในการร่วมกันวางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ปัจจัยเบื้องต้นของการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากร ผู้บริหาร บุคลากรภายในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ และด้านกระบวนการในการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
3. ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาบุคลากร ควรดำเนินการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบครบวงจรและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรทำการศึกษาเรื่องนี้โดยศึกษาในเชิงลึก ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ระดมสมอง การใช้เทคนิคกระบวนการกลุ่ม การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นข้อสนเทศในการดำเนินงานขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความหลากหลายแง่มุม
2. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน