LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การคัดเลือกผลงานทางวิชาการและผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ

usericon

ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น
1.1 ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ – สกุล นางศศิธร ดาทอง
โทรศัพท์ 0-5671-832 โทรศัพท์มือถือ 081 – 379-6184 E-mail : meena.51@hotmail.com
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ สังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน     
ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 รวมระยะเวลา 4 ปี 6 เดือน 13 วัน ( นับถึงวันที่ยื่นใบสมัครขอรับการคัดเลือก )

1.2 วุฒิการศึกษา ( ระบุตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป )
ระดับการศึกษา    คุณวุฒิ    สาขาวิชาเอก    ปีที่สำเร็จการศึกษา    สถานศึกษา
ปริญญาโท    การศึกษามหาบัณฑิต ( กศ.ม. )    ภาษาไทย    2543    มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประกาศนียบัตรบัณฑิต    ประกาศนียบัตรบัณฑิต ( ป.บัณฑิต )    การบริหารการศึกษา    2551    มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบูรณ์
ปริญญาตรี    การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. )    ภาษาไทย    2538    มหาวิทยาลัยนเรศวร

    1.3 ผลงานที่เสนอขอรับการคัดเลือก
     ชื่อผลงาน การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
จำนวน .......................หน้า
     ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2557 – 2558
    1.4 เอกสารแนบในสมัครขอรับการคัดเลือก ( เอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์ ไม่เกิน 50 หน้า ไม่รวมภาคผนวก , นวัตกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมและ/หรือหลักฐานอื่นที่แสดงถึงการปฏิบัติงานจริงจนถึงปัจจุบัน ) ได้แก่
     1. สำเนา ก.พ. 7 ที่เป็นปัจจุบัน จำนวน 4 แผ่น
2. ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหาร จำนวน 1 แผ่น
ตอนที่ 2 สรุปผลงานที่ขอรับการคัดเลือก
สรุปผลงานที่เสนอขอรับการคัดเลือก ( ไม่เกิน 5 หน้า ) ดังนี้
1.    ความสอดคล้องกับกฎหมาย นโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้นความต้องการการพัฒนาของศูนย์การศึกษาพิเศษ สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
( คะแนนเต็ม 9 คะแนน )
2.    การแสดงแนวคิด ทฤษฎี หลักการของการพัฒนา การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ( Best Practices) ( คะแนนเต็ม 9 คะแนน )
3.    กระบวนการพัฒนาการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ( Best Practices ) ( คะแนนเต็ม 45 คะแนน )
4.    ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ( Best Practices ) ( คะแนนเต็ม 9 คะแนน )
5.    กระบวนการตรวจซ้ำ เพื่อปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ( Best Practies) ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง ( คะแนนเต็ม 9 คะแนน )
6.    การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายผลในวงวิชาการ ( คะแนนเต็ม ๑๘ คะแนน )
และข้าพเจ้าขอรับรองว่าผลงานที่เสนอขอรับการคัดเลือก
 ไม่เป็นผลงานที่เสนอขอให้ได้รับการประเมินให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
 ไม่เป็นผลงานที่เสนอขอให้ได้รับอนุมัติให้จบการศึกษา
 ไม่เป็นผลงานที่คัดลอกมาจากที่อื่น
 เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จจากการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวม
 มีการปรับปรุง พัฒนา ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 2 ปี และเป็นผลงานที่ดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว
ไม่เกิน 3 ปี ( นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร )
 เป็นผลงานที่มีการเผยแพร่ในวงวิชาการ

    ข้าพเจ้าขอรับรองและรับผิดชอบข้อความที่แจ้งไว้ดังกล่าวข้างต้นว่าเป็นความจริงทุกประการ

ลงชื่อ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
( นางศศิธร ดาทอง )
วันที่ 29 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559






ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น
    ..................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
ลงชื่อ
( นายกานต์ สอนอยู่กลาง )     
ผู้อำนวยการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
วันที่ .......... เดือน..............................พ.ศ. 2559


ผู้ตรวจสอบรับรองข้อมูล
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ
( นางสุรางค์ วิสุทธิสระ )     
ประธานเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7
วันที่............เดือน..............................พ.ศ. 2559
1.    ชื่อ BP: การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม

2.    ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP
2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP นางศศิธร ดาทอง

    2.2 สถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนัก
บริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์/ โทรสาร 056-718321, e-mail : phetchabunse@hotmail.com, w ebsite : phetchabunse.com
จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มีหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเตรียมความพร้อม ตามกระบวนการในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประสานส่งต่อ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาแก่คนพิการ จัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ จัดระบบสนับสนุนการจัดการเรียนร่วม และประสานงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเขตพื้นที่บริการใน 11 อำเภอ คือ 1) อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ 2) อำเภอชนแดน 3) อำเภอวังโป่ง 4) อำเภอหล่มสัก 5) อำเภอหล่มเก่า 6) อำเภอเขาค้อ 7) อำเภอหนองไผ่ 8) อำเภอบึงสามพัน
9) อำเภอวิเชียรบุรี 10) อำเภอน้ำหนาว 11) อำเภอศรีเทพ
ปัจจุบันมีผู้บริหารศูนย์ฯคือ นายกานต์ สอนอยู่กลาง ตำแหน่งผู้อำนวยการ และ นางศศิธร ดาทอง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มีบุคลากรทั้งสิ้น จำนวน 66 คน แบ่งเป็น ข้าราชการครู จำนวน 15 คน ครูผู้สอนจำนวน 7 คน ครูอัตราจ้างจำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 36 คน และ นักเรียนจำนวน 295 คน
( ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2558 )
3.    หลักการและเหตุผล
    จากบทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยเฉพาะบทบาทที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดการเรียนร่วม ซึ่งเป็นหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่จะต้องจัดระบบส่งเสริม สนับสนุน ให้โรงเรียนที่จัดการเรียนรวม แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาเพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรวมให้มีประสิทธิภาพ จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP ) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล ( IIP ) ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคลที่มีความต้องการพิเศษจำเป็นพิเศษทางการศึกษาได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผลตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP ) พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรวม รวมทั้งการจัดฝึกอบรม และพัฒนาให้ความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแก่ผู้บริหาร ผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้อง มีการประสานงาน นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนรวมร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรวมให้แก่โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม จำนวน 59 โรงเรียนและโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1, เขต 2,เขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 40 สังกัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จากการติดตามผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนร่วมและเรียนรวม ปีงบประมาณ 2558 พบว่า โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมยังมีปัญหาในการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยอาจเกิดจากโรงเรียนยังไม่มีความรู้และขาดความรู้และขาดทักษะในการจัดการเรียนร่วม ตามองค์ประกอบ โครงสร้างซีท ( SEAT ) คือ ด้านนักเรียน ( Students ) ด้านสภาพแวดล้อม ( Environment ) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( Activities ) และด้านเครื่องมือ ( Tool ) รวมทั้งการให้บริการโรงเรียนเป็นฐาน ( School based Management : SBM ) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร การโยกย้ายของบุคลากร การไม่รับการพัฒนาด้านการศึกษาพิเศษ เป็นต้น ซึ่งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ปีการศึกษา 2558 พอสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องส่วนใหญ่ ยังไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียนทั่วไปอย่างแท้จริง โดยพบว่า โรงเรียนยังรับนักเรียนได้บางประเภทและรับได้เฉพาะนักเรียนที่มีความพิการระดับปานกลางและระดับน้อยเท่านั้น ส่วนนักเรียนที่พิการระดับมากยังไม่สามารถจัดเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไปได้
2.    กระบวนการจัดทำ IEP ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ โรงเรียนส่วนใหญ่ดำเนินการโดยไม่มีคณะกรรมการจัดทำ IEP ของนักเรียนแต่ละคนเป็นการกรอกแบบฟอร์ม โดยครูคนเดียวมากกว่าการทำตามกระบวนการจัดทำ IEP ดังนั้น จึงไม่ ครอบคลุมสาระสำคัญในการพัฒนานักเรียนพิการ รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบไม่ครอบคลุมทั้งวิธีการ เครื่องมือ และแหล่งข้อมูล
3.    การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่อง ยังไม่ดีพอ เนื่องจาก โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนพิการ หรือที่มีความบกพร่อง แต่ใช้วิธีการจัดที่นั่งในห้องเรียนแทน
4.    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องยังมีน้อย การปรับเปลี่ยน
หลักสูตรการเรียนการสอนและการพัฒนาศักยภาพนักเรียนเป็นเฉพาะบุคคลยังมีน้อย การจัดการเรียนการสอนยังไม่เชื่อมโยงกับชั้นเรียนปกติ
5.    การเตรียมครูและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาพิเศษ ยังดำเนินการได้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการพัฒนานักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ครูจำนวนมากต้องการรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในการสอนเด็กพิการ นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องการความช่วยเหลือด้านสื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่จำเป็น
6.    ผู้บริหารยังมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนร่วมน้อย ทำให้การบริหารจัดการไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
7.    ครูผู้สอนขาดทักษะในการจัดการเรียนการสอน ทั้งยังมีหน้าที่รับผิดชอบหลายด้านทำให้การดำเนินการเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเด็กนักเรียนปกติที่เรียนร่วมเด็กพิเศษ
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มีบทบาทในการส่งเสริม
สนับสนุน การจัดการเรียนรวมให้สถานศึกษาที่จัดการเรียนรวมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1, เขต 2, เขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 40 ให้ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดความตระหนักในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP ) และแผนการสอนเฉพาะบุคล ( IIP) สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผลให้เป็นไปตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง และได้รับการประสานงาน นิเทศ กำกับ ติดตามและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างในการจัดการเรียนรวม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนพิการ และตอบสนองต่อนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม อีกทั้งยังเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ว่า “ ผู้เรียนทุกคนได้สิทธิและโอกาสในการศึกษาอย่างเสมอภาคกัน ” โยมีการจัดการที่เหมาะสมในโรงเรียนและในห้องเรียน ที่ยึดหลักปรัชญาการอยู่รวมกัน ( Inclusion ) โดนเน้นให้มีการนำบริการสนับสนุนต่างๆ มาจัดกระบวนการเรียนการสอน เพื่อสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มีทางเลือกหลายๆทางโดยไม่แยกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับโรงเรียนในการพัฒนาเด็กพิการ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่รับเด็กพิการเข้าเรียนด้วย จึงได้ดำเนินการประสานความร่วมมือ ประสานสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมให้จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 1 , เขต 2 ,เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 40 โดยการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม



4.    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้ผู้บริหาร ครูผู้สอนในโรงเรียนแกนนำ และศึกษานิเทศก์ มีส่วนร่วมในการดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรวมโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
    2. เพื่อให้ผู้บริหาร ครูผู้สอนในโรงเรียนแกนนำ และศึกษานิเทศก์ มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรวมโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
5.    กลุ่มเป้าหมาย
5.1    ผู้บริหาร ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเพชรบูรณ์
เขต 1 ,เขต 2,เขต 3 และสพม.40 จำนวน 59 คน
5.2    ครูผู้สอน ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเพชรบูรณ์
เขต 1 ,เขต 2,เขต 3 และสพม.40 จำนวน 59 คน
5.3    ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดขอบงานจัดการเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา
เพชรบูรณ์ เขต 1 ,เขต 2,เขต 3 และสพม.40 จำนวน 4 คน
6. ระยะเวลา ในการพัฒนา BP
16 พฤษภาคม 2557 - 31 มีนาคม 2559 ในปีการศึกษา 2557-2558

    องค์ประกอบที่ 1 ความสอดคล้องกับกฎหมาย นโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้นความต้องการพัฒนาของศูนย์การศึกษาพิเศษ สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการเรียนรวมโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของศูนย์การศึกษา
พิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ศึกษากฎหมาย นโยบาย กลยุทธ์ บทบาท/จุดเน้นศูนย์การศึกษาพิเศษ สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีความสอดคล้องดังนี้
1.    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
มาตรา 49 ได้บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่
รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

    ผู้พิการหรือทุพลภาพ ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพการเลือกปฏิบัติจะกระทำไม่ได้

2.    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 )
พ.ศ. 2542 และ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553
        ในมาตรา 10 การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมี
ความสามารถพิเศษต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
     มาตรา 11 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
     มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
    มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม

    เจตนารมณ์ที่เกี่ยวข้อง
    ผู้พิการหรือทุพลภาพย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยต้องจัดให้เป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย และให้มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง
    โดยมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
3.    พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2556
    มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
     “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไปทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
    “ผู้ดูแลคนพิการ” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้องหรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ
    “แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล” หมายความว่า แผนซึ่งกำหนด แนว ทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล
    “เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก” หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ
    “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
“การเรียนร่วม” หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ
“สถานศึกษาเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน
    “ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง
    หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา 5 คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้
        (1) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิตพร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
        (2) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
        (3) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
    มาตรา 6 ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
    มาตรา 8 ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง
    ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการรวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใดให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
    สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย
        ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
    มาตรา 10 เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
    มาตรา 19 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่
กฎหมายกำหนด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรค หนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
     เจตนารมณ์
     การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจาก การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป จึงจำเป็นต้องจัดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ ดังนั้น เพื่อให้การบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุกระดับการศึกษา



4.    นโยบายปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552 – 2561 (ข้อที่ 3 )
    ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค” ประกอบด้วย นโยบาย 4 ข้อ คือ
    1) คนพิการได้รับการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
    2) คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการ
ในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา
    3) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
    4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

















5.    แผนพัฒนาการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2555 – 2559

แผนภาพ : นโยบายการปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษที่สอง

6.    นโยบายสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน ( ยุทธศาสตร์ที่ 5 )
เจตนารมณ์
        คนพิการทุกประเภทมีสิทธิได้รับการศึกษาและได้รับความช่วยเหลือทางการศึกษา
ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาและการจัดบริการทางการศึกษาให้กับเด็กพิการ ต้องจัดให้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ 1 เพิ่มโอกาสให้คนพิการได้รับบริการทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ 2 วิจัยและพัฒนาหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัด และประเมินผลให้เหมาะสมสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 4 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้สำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 6 พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ยุทธศาสตร์ 7 ปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และงบประมาณเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ
7 จุดเน้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2557 (ข้อที่3)
    ข้อที่ 3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพ
(Studentswith Special Needs)
        -เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
-เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
และอัตลักษณ์แห่งตน
        -นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์คณิตศาสตร์ภาษา กีฬา ดนตรีและศิลปะ
-นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานประกอบการ องค์กรเอกชนและ
สถานศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
        -เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
    
    8. สอดคล้องกับกลยุทธ์และจุดเน้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ข้อที่ 3
        1. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ดอยโอกาส
        2. การเสริมสร้างป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^