ยงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสั
ผู้รายงาน : นางฮาสาน๊ะ ยีปันจอ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลาหงา
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านลาหงา อำเภอละงู จังหวัดสตูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2556
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1)คุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 2)ทักษะการอ่าน การเขียน และการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 3)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 และ4)ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและระดับชาติขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .95 - .99
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและ
การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด โดยคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ ( = 68.95 ) สูงกว่าเป้าหมายของโรงเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระ พบว่า กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 75.09 ) รองลงมาคือกลุ่มสาระภาษาไทย ( = 70.95 ) และกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 62.60 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2555 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.39% ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรมีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคล แบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
2. การส่งเสริม โรงเรียนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครอง เป็นครอบครัวรักการอ่าน เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน
3. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของ
โครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ