ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนวัดบางไผ่น
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวระวีวรรณ ศรีคต
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนวัดบางไผ่นารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนวัดบางไผ่นารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองโรงเรียนวัดบางไผ่นารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 73 คน โดยถือว่าผู้เรียนแต่ละคนมีผู้ปกครอง 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 73 ฉบับ ได้รับกลับคืนมาครบทั้ง 73 ฉบับ แต่เมื่อพิจารณาคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์ ปรากฏว่าได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์คืน จำนวน 72 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) หากพบความแตกต่างกัน จะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนวัดบางไผ่นารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ใน 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหาร ด้านการเรียนการสอน และด้านอาคารสถานที่ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหาร และด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอาคารสถานที่อยู่ในระดับมาก
2. เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนวัดบางไผ่นารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของเพศ และระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนวัดบางไผ่นารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของอายุ พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน