เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง ผลการเรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียน เรื
ผู้วิจัย นางสาวพิมอร ทองไทย
ปีที่พิมพ์ 2556
บทคัดย่อ
โปรแกรมบทเรียนเป็นสื่อนวัตกรรมรูปแบบหนึ่งของระบบการเรียนการสอนที่เน้นให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกโอกาส ตามความสามารถและความสนใจ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็น
เครื่องมือในการนำเสนอโปรแกรมบทเรียนเพื่อการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย
( 1 ) เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติและพื้นฐานการตีโปงลาง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 ( 2 ) เพื่อ
หาค่าดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ( 3 ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ( 4 ) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรม
บทเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) โดย
วิธีการจับฉลาก ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านค้อเมืองแสน สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ (1) โปรแกรมบทเรียน เรื่อง ประวัติและพื้นฐานการตี
โปงลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี ) ใช้เวลาเรียน 18 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.71 และมีค่า
ความเชื่อมั่น 0.79 (4) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 23 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.30 ถึง
0.63 และค่าความเชื่อมั่น 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t - test ผลการวิจัย พบว่า (1) โปรแกรมบทเรียน
เรื่อง ประวัติและพื้นฐานการตีโปงลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี ) มีประสิทธิภาพ
83.59/81.08 (2) ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่อง ประวัติและพื้นฐานการตีโปงลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี ) มีค่าเท่ากับ 0.6003 คิดเป็นร้อยละ 60.03 (3) นักเรียนมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่อง ประวัติและพื้นฐานการตี
โปงลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ
4.38 อยู่ในระดับ พอใจมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรม
บทเรียน มีความพึงพอใจด้านเนื้อหาและด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.56 และมีความพึงพอใจด้านภาพ เสียงและการใช้ภาษา ด้านการจัดการในบทเรียน อยู่ใน
ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.18 และ 4.26 ตามลำดับ
โดยสรุป โปรแกรมบทเรียน เรื่อง ประวัติและพื้นฐานการตีโปงลาง กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเหมาะสมทำให้นักเรียนที่เรียน
ด้วยโปรแกรมบทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จึงควรสนับสนุนและ
ส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำไปใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษา
ต่อไป