ชื่องานวิจัย การศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ
Solo - Pair - Team) เพื่อพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนบ้านอำปึล (ปอเกีย - พลินอุทิศ 3)
ผู้ทำการวิจัย นางอัมพร กุฎแก้ววิเศษกิจ
ปีที่ทำการวิจัย 2554
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ
เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ 3) เพื่อประเมินความสามารถในการเล่นเกมการศึกษาระหว่างการทดลองจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชายและเด็กหญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านอำปึล
(ปอเกีย - พลินอุทิศ 3) ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยดำเนินการทดลองจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Cooperative Learning/Solo - Pair - Team)
เพื่อพัฒนาการคิด เชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์
ละ 5 วัน วันละ 20 นาที ช่วงเวลา 14.40 – 15.00 นาฬิกา ในระหว่างวันที่ 18 เดือน กรกฎาคม
พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ. 2554 การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย
โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิด เชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย จำนวน 40 แผน
ผลการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.96 (2) สื่อเกมการศึกษา จำนวน 40 เกม ผลการหาความเชื่อมั่น โดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่า IOC เท่ากับ 1.0 (3) แบบทดสอบ
วัดการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย 5 ด้าน ได้แก่ การจำแนก การจัดประเภท การอุปมา-อุปไมย
การอนุกรม และการสรุปความ เป็นลักษณะแบบเลือกตอบ จำนวน 50 ข้อ ผลการหาค่าดัชนี
ความสอดคล้อง โดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่า IOC เฉลี่ย เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที t ในกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Cooperative Learning/Solo - Pair - Team) เพื่อพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
(1) เด็กมีความสามารถในด้านการคิดเชิงเหตุผลผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 100 และเด็กมีความสามารถในด้านการคิดเชิงเหตุผลอยู่ในระดับสูง ( = 46.00, S.D. = 3.40)
(2) เด็กมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 (3) เด็กมีความสามารถในการเล่นเกมระหว่างการทดลองอยู่ในระดับสูง ( = 20.39, S.D. = 0.27)