การประเมินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โ
โรงเรียนบ้านโคกสง่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
ผู้วิจัย นายอนันต์ รามโคตร
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงตามโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้รู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้มีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้และเห็นความสำคัญ สามารถปลูกฝังผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโคกสง่า ในด้านบริบทของโครงการ ด้านปัจจัยของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ในด้านความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมด้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง และคุณลักษณะของนักเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจต่อโครงการของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 44 คน ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบทดสอบ จำนวน 9 ฉบับ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมเห็นว่ามีความสอดคล้องหรือเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมเห็นว่า มีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการ โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิต โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน คือประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ พบว่า
5. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ต่อโครงการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
6. การประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา ต่อโครงการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน