การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 1 เรื่
เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายเพ็ชร โสภารักษ์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 1 เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชารายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 90 คน จาก 3 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 1 เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ จำนวน 5 บทเรียน 2) แบบทดสอบเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ โดยเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกำหนดไว้ที่ 75/75 และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากแบบทดสอบวิเคราะห์โดยใช้สถิติอ้างอิง dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 76.83/76.64 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 72.16) และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด(x = 4.65; S.D = 0.48)
คำสำคัญ แรงและกฎการเคลื่อนที่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Title The Development of a Computer – Assisted Instruction (CAI) of Additional Physics I on Force and
Law of Motion of Tenth Grade
Author Mr.Phet Sopharak
Year 2013
Abstract
This research aimed to develop and validate efficiency of a Computer-Assisted Instruction (CAI) in Additional Physics I on Force and Law of Motion for tenth grade students, to compare between pre-test and post-test average scores, and to study students’ satisfactions after implementation of CAI. Research target group was 90 tenth grade students; who take the Physics Course, the first semester of 2013 academic year, in 3 classrooms. They were selected by using purposive technique. The research instruments consisted of 1) five lessons of CAI, 2) force and laws of motion test; 50 items of four multiple choices test, and 3) student satisfaction questionnaire; 15 items of Likert scale questionnaire. The efficiency of the CAI was set at criterion 75/75 and the comparison of the students’ learning achievement between pre-test and post-test average scores was analyzed using dependent sample t-test. Research results revealed that 1) the efficiency of the CAI is 76.83/76.64 which is higher than the criterion 75/75, 2) the students’ post-test average score is higher that pre-test score at significant level .01 (t = 72.16), and 3) students’ satisfaction after implementation of the CAI is at highest level ( 4.65; 0.48).
Keyword: Force and Law of Motion, Computer-Assisted Instruction,and tenth grade students