รายงานการใช้แนวทางการประมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบ
ชื่อผู้วิจัย นายมงคล ทองเสี่ยน
ปี 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องแนวทางการประมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบร่วมพัฒนา ได้กำหนดวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแนวทางการประเมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบร่วมพัฒนา 2) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบร่วมพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ในด้าน 2.1) การประเมินด้านบริบท (context evaluation) 2.2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (input evaluation) 2.3) การประเมินด้านกระบวนการ (process evaluation) 2.4) การประเมินด้านผลผลิต (product evaluation) 2.4.1) การประเมินผลการดำเนินงาน (output evaluation) 2.4.2) การประเมินผลกระทบ (impact evaluation) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำแนกได้ดังนี้ - ผู้บริหาร จำนวน 16 คน - ครูโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 185 คน - นักเรียน จำนวน 291 คน - ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 1) แนวทางการประเมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบร่วมพัฒนา 2) แบบประเมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบร่วมพัฒนา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร และครูผู้สอน เกี่ยวกับการใช้แนวทางการประเมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สถิติที่ใช้ ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินแนวทางการประเมินโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. สถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบ ถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุราชการต่ำกว่า 10 ปี จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ
3. สถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม สำหรับครูผู้สอน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุราชการต่ำกว่า 10 ปี จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4. สถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม สำหรับนักเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษา นับถือศาสนาพุทธ มีความรู้เกี่ยวกับโครงการอยู่ในระดับมาก
5. สถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม สำหรับผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ มีความรู้เกี่ยวกับโครงการอยู่ในระดับมาก
6. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการ โรงเรียนดีศรีตำบล ของผู้บริหาร และผู้ปกครอง ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนครูผู้สอน และนักเรียน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
7. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการ โรงเรียนดีศรีตำบล ของผู้บริหาร ในด้านบริบท พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
8. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการ โรงเรียนดีศรีตำบล ในด้านปัจจัยนำข้า พบว่า ผู้บริหาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนครูผู้สอนมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
9. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการ โรงเรียนดีศรีตำบล ในด้านกระบวนการ พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นตรวงกัน ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกคน
10. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการ โรงเรียนดีศรีตำบล ในด้านผลผลิต พบว่า ผู้บริหาร และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นตรงกัน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนครูผู้สอนและนักเรียน มีความคิดเห็นตรงกันภาพรวมอยู่ในระดับมาก
11. ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูผู้สอน ในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด