รายงานการจัดกิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะการใช
ผู้วิจัย ศศิอร ทัศเกษร ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนวัดหนองสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การจัดกิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษา
ด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความก้าวหน้าของภาพรวมและรายด้านจากการจัดประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการใช้ภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยระหว่าง 8 สัปดาห์แรกกับ 8 สัปดาห์หลังของการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดหนองสะเดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 19 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการใช้ภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยภาพรวม มีความก้าวหน้าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 42.66 จากการจัดกิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในช่วง 8 สัปดาห์แรกและช่วง 8 สัปดาห์หลัง เมื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้าเป็นรายบุคคล พบว่า เด็กปฐมวัยมีระดับความก้าวหน้าระหว่าง ร้อยละ 40.66 ถึง 45.00 2. ทักษะการใช้ภาษาด้านการฟังและการพูดโดยรวมเฉลี่ยทุกด้านของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบภาพ ในช่วง 8 สัปดาห์แรกมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 1.44 และในช่วง 8 สัปดาห์หลังมีค่าเฉลี่ย 2.71 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยในช่วง 8 สัปดาห์หลังการจัดกิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบภาพสูงกว่าช่วง 8 สัปดาห์แรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05