การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำ
การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง
สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่
ผู้ศึกษา นางกาญจนา โพธิลักษณ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2554
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รวมถึงเพื่อศึกษาความพึงพอใจของของนักเรียนที่มีต่อการใช้การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ การวิจัยใช้รูปแบบ One group pretest-posttest design มีกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๒๐ คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sample) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ 2)แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ 4)แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ สถิติพื้นฐานประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบคุณภาพนวัตกรรมจากการทดลองก่อนใช้จริงใช้สูตร E1 /E2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานจากการใช้จริง ประกอบด้วย ค่า t- test ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (C.V) และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ มี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.20/88.70 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/๘๐ ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐5
และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำสระลดรูปเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจรวมอยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
:em7:
:em1: