รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต ก
ชื่อผู้ศึกษา : นางอริญา ปันธิยะ
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านหัวนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวนา จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าความก้าวหน้า
ผลการศึกษาพบว่า
1.ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ
85.88 / 84.15
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 20.90
3.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวนา มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุด สร้างเสริมสุขภาพเพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.70