รายงานผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอ
และเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน กาญจนา สาเป็ง
ปีที่ทำการวิจัย : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการรายงาน 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่สละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่สละ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งมีประชากรที่ศึกษาจำนวน 12 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และได้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่า t-test ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าความเชื่อมั่น
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์การหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 คน ที่ได้ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม มีประสิทธิภาพกระบวนการโดยรวม เฉลี่ย E1 เท่ากับ 84.06 และมีประสิทธิภาพผลลัพธ์โดยรวม เฉลี่ย E2 เท่ากับ 83.06 E1= 84.06 / E2=83.06
2. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) คิดเป็นค่าร้อยละของคะแนนก่อนเรียน เท่ากับ 46.67 และหลังเรียนเท่ากับ 85.56 โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.49 และใช้ค่าสถิติ t-test ในการเปรียบเทียบคะแนนของการสอบ ค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 21.10 สูงกว่าค่า t ที่ได้จากตาราง t มาตรฐานซึ่งมีค่า เท่ากับ 1.796 จึงมีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05