รายงานการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาพฤติก
เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1
ผู้ศึกษา นางสมร มะเร๊ะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาเรียน(ก่อนประถมศึกษา)
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านจะแนะ อำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย จำนวน 20 กิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์ที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรม แบบบันทึกกี่สังเกตการพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (Percentage) ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (E1/E2) และการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการคึกษาพบว่า
1. การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยจำนวน 20 กิจกรรม ที่ผู้ศึกษานำมาใช้ในการจัดกิจกรรมทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีการพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมดีขึ้นทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยรวมคิดเป็นร้อยละ 85.42
2. หลังการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย จำนวน 20 กิจกรรม ที่ผู้ศึกษานำมาใช้ในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีคะแนนผลการประเมินการสังเกตการพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
3. กิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีประสิทธิภาพ 85.42/83.13
4. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 81.94